การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมุสลิม

Main Article Content

อัจฉราพร สหวิริยะสิน
ผจงศิลป์ เพิงมาก
กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยประยุกต์ใช้หลักศาสนาอิสลามร่วมกับแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโปรชาสกา นอร์ครอส และดีคลีเมนต์ การพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย 2 ระยะ  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยประยุกต์ใช้หลักศาสนาอิสลามร่วมกับแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโปรชาสกา นอร์ครอส และดีคลีเมนต์ การพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย 2 ระยะ 
คือ 1) ระยะพัฒนาองค์ประกอบของโปรแกรม และ 2) ระยะตรวจสอบคุณภาพโปรแกรม ทำการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทดสอบการใช้โปรแกรมโดยพยาบาล 3 คน และนำโปรแกรมไปใช้กับผู้ติด
เชื้อเอชไอวีมุสลิมที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จำนวน 20 ราย การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีคู่ (Paired t-test)  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย 1) แผนผังโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) คู่มือการรับประทานยา 3) สมุดบันทึกการรับประทานยา 4) สื่อการสอน 5) กล่องยาช่วยเตือน และ 6)แบบประเมินระยะพฤติกรรม สำหรับผลการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ 0.89 เมื่อทดลองใช้โปรแกรม พบว่า โปรแกรมฯมีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักวิชาการและหลักศาสนาอิสลาม สำหรับการประเมินความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมฯ พบว่า โปรแกรมฯ นำไปใช้งานได้ง่ายและเหมาะสมกับบริบท ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ โปรแกรมฯนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้สามารถปรับตัวและรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ได้อย่างสม่ำเสมอต่อไป 

Article Details

How to Cite
สหวิริยะสิน อ., เพิงมาก ผ., & บาลทิพย์ ก. (2018). การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักศาสนาอิสลาม เพื่อส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและพฤติกรรมการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีมุสลิม. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(3), 146–159. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/121602
Section
Research Article