การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่จังหวัดตราดเชื่อมสู่การท่องเที่ยวกัมพูชาและเวียดนามบนพื้นฐานอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและประเมินทรัพยากรทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดตราด และกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเชื่อมโยงสู่กัมพูชาและเวียดนาม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้นำและคนในชุมชน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและประเมินทรัพยากรทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดตราด และกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเชื่อมโยงสู่กัมพูชาและเวียดนาม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้นำและคนในชุมชน
จำนวน120 คนในพื้นที่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 29 ชุมชนของจังหวัดตราด และ 7 ชุมชนในพื้นที่กัมพูชาและเวียดนาม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การสำรวจเส้นทาง การสัมภาษณ์ การระดมความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ และการประเมิน
ศักยภาพของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดตราดอยู่ในระดับดีทั้งในประเด็นของผู้นำ และประเด็นของคนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่วนศักยภาพที่อยู่ในระดับปานกลางคือ การ
เตรียมความพร้อม การวางรูปแบบการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมในชุมชน การบริหารจัดการ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน การมีส่วนร่วมกับนักท่องเที่ยว การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และผลที่ได้ที่เกิดกับชุมชน
สำหรับชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชื่อมโยงตราด กัมพูชาและเวียดนาม ในระดับดีขึ้นไป พบว่ามีเพียง 14 ชุมชน คือ 1) ระดับดี เยี่ยม (เกรด A) จำนวน 3 ชุมชน 2) ระดับค่อนข้างดีเยี่ยม (เกรด B+) จำนวน 6 ชุมชน และ 3) ระดับดี
(เกรด B) จำนวน 5 ชุมชน โดยเชื่อมโยงเส้นทางผ่านด่านถาวรหาดเล็กของประเทศไทย ไปยังชุมชนของกัมพูชาคือ ชุมชนบางคะยัก ชุมชนตาไต ชุมชนชีพัท ชุมชนแพรกโตนด ชุมชนตระเปียงซังแก ชุมชนจัมบก และชุมชนในอำเภอฮอนดัท
ของเวียดนาม