การสร้างแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทย สำหรับผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองโดยใช้กลยุทธ์สัทศาสตร์

Main Article Content

วันชัย แก้วหนูนวล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการแปรของเสียงพยัญชนะท้ายภาษาไทยในการอ่านออกเสียงของผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 2. เพื่อสร้างแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการแปรของเสียงพยัญชนะท้ายภาษาไทยในการอ่านออกเสียงของผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 2. เพื่อสร้างแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษา
ไทยสำหรับผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โดยใช้กลยุทธ์สัทศาสตร์ และ 3. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทย สำหรับผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ตามเกณฑ์ E1/E2 = 90/90 กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาส-ราชนครินทร์ ปีการศึกษา 2560 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้ที่มีคะแนน
การทดสอบอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะท้ายในภาษาไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไม่ถึงร้อยละ 60 มีจำนวน 30 คน  ผลการวิจัยพบว่าการแปรของเสียงพยัญชนะท้ายภาษาไทยในการอ่านออกเสียงของผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองมีการแปรของเสียง 2 แบบ คือ แบบที่ 1 การแปรเป็นหน่วยเสียงอื่น มี 6 หน่วยเสียง 
คือ หน่วยเสียง [-k] แปรเป็นหน่วยเสียง [-d] และ [-b] หน่วยเสียง [-gif.latex?\eta] แปรเป็นหน่วยเสียง [-m] และหน่วยเสียง [-n] หน่วยเสียง [-d] แปรเป็นหน่วยเสียง [-k] หน่วยเสียง [-n] แปรเป็นหน่วยเสียง [-gif.latex?\eta] หน่วยเสียง [-b] แปรเป็นหน่วยเสียง [-k] 
หน่วยเสียง [-m] แปรเป็นหน่วยเสียง [-gif.latex?\eta] ส่วนหน่วยเสียง [-y] และ [-w] ไม่พบการแปรของเสียงพยัญชนะท้ายในกลุ่มคำที่ทดสอบ แต่จะพบการแปรของเสียงพยัญชนะต้นและวรรณยุกต์ แบบที่ 2 ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้าย มี 4 แบบ คือ ไม่ออก
เสียงพยัญชนะท้าย  เปลี่ยนเสียงสระเสียงสั้นให้เป็นสระเสียงยาว  ออกเสียงเป็นคำอื่น  และออกเสียงเป็น 2 พยางค์  และประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทย สำหรับผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้
ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โดยใช้กลยุทธ์สัทศาสตร์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2= 90.54/90.66  ซึ่งเหมาะสมที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาการออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทยได้

Article Details

How to Cite
แก้วหนูนวล ว. (2018). การสร้างแบบฝึกการอ่านออกเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทย สำหรับผู้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่งและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองโดยใช้กลยุทธ์สัทศาสตร์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(3), 1–14. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/136717
Section
Research Article