อาหารท้องถิ่น: ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบ้านตลิ่งแดง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

บุษบา ทองอุปการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อาหารท้องถิ่น ชุมชนบ้านตลิ่งแดง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อวัฒนธรรมอาหารและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และ 2)  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อาหารท้องถิ่น ชุมชนบ้านตลิ่งแดง ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อวัฒนธรรมอาหารและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และ 2) 
อาหารท้องถิ่นและภาพสะท้อนความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แผนที่เดินดิน และบันทึกภาค
สนาม ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เชื่อมโยงและตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย  ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่เอื้อต่อวัฒนธรรมอาหารและความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ได้แก่ ความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องถิ่น ความสามารถในการผลิตอาหารและระบบเศรษฐกิจชุมชน การพิทักษ์อาหาร 
และระบบวัฒนธรรมชุมชน (2) อาหารท้องถิ่นและภาพสะท้อนความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม อาทิ ขนมสายบัว แยมหยวก บัวลอยญวน เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในมิติวัฒนธรรม ที่เกิดจากภูมิปัญญา
ในการใช้ทรัพยากรอาหาร และการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม จนเป็นอัตลักษณ์และวัฒนธรรมอาหารของชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
ทองอุปการ บ. (2018). อาหารท้องถิ่น: ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบ้านตลิ่งแดง จังหวัดกาญจนบุรี. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(3), 107–119. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/136718
Section
Research Article