การเสริมสร้างศักยภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษา 1) ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี 2) สร้างรูปแบบ และทดสอบรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนที่เหมาะสมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวจันทบุรี 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และการวิจัยกึ่งทดลองเจาะจงเลือกตัวแทนภาคีเครือข่าย 30 คน ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการจัดการความรู้ สร้างรูปแบบการเสริมศักยภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี และทำการทดสอบก่อนและหลังด้วยแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัยพรรณนา และสถิติทดสอบการถดถอยเชิงพหุ และ ค่า paired-sample t-test
ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของคนในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้เมื่อนำตัวแปรต่างๆ ทางด้านศักยภาพ ได้แก่ ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรีมาสร้างรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมานำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตัวแปรดังกล่าวสามารถสร้างเป็นรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างเหมาะสม และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่ามีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และเมื่อทำการทดสอบศักยภาพของตัวแทนภาคีเครือข่ายผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี พบว่า การวัดศักยภาพหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนสูงขึ้นก่อนการประชุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
References
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559, จาก https://www.mots.go.th/tourism/index .php?section=profile&
section_id=30&category=stvi&cate_id=96
จีระประทีป ทองเปรม. รองนายกเทศบาลปากน้ำแหลมสิงห์. (22 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, เสาวคนธ์ สุดสวาท, เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล, ประพีร์ วิริยะสมบูรณ์, สุดา ภิรมย์แก้ว และสุรพันธ์ เพชราภา.
(2547). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำกพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จำเนียร ชุณหโสภาค. (2553). รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สังคมวิทยา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงลักษณ์ มณีรัตน์. (2559). ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเขาบายศรี. (25 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
ประภาพรรณ ฉัตรมาลัย. ประธานชมรมพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบูร. (16 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์ศานต์. (2540). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชนี ตูเล๊ะ. (2561). ศักยภาพผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อความเข้มแข็งด้านคุณภาพชีวิตและสังคมใน
จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 86-97.
วรรณดี สุทธินรากร, ภัทรวรรณธน์ จีพัฒน์ธนธร, จินตนา กาญจนวิสุทธิ์, ทรงธรรม ปานสกุล, อรุโณทัย สาลิกาขำ, รมิตา
สุทธินรากร, ...ชไมพร เอกทัศนาวรรณ. (2561). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่จังหวัดตราดที่
เชื่อมสู่การท่องเที่ยวกัมพูชาและเวียดนามบนพื้นฐานอัตลักษณ์ของท้องถิ่น.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส
ราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(พิเศษ), 74-86.
สริตา พันธ์เทียน, ทรงคุณ จันทจร, และมาริสา โกเศยะโยธิน. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย: แนวทางการพัฒนาและ
แก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์.
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 184-195.
สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2557). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานกรบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน.กรุงเทพมหานคร:
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท.
Kotler, P. (1999). Kotler on marketing: How to create, win, and dominate markets. New York: The Free Press.
Muller, H. (1994). The theory path to sustainable tourism development. Journal of Sustainable Tourism, 2(3),
131-136.
Yamane, T. (1973). Statistics:An introductory analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.