ผลของการใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกและแผนจัดการเรียนรู้แบบปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

Rewadee Sukchum
Wan Dechpichai
Nongnaphat Makchoochit

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกกับนักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 32 คน รวม 64 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรนักเรียนทั้งหมด 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิค ผังกราฟิก แผนจัดการเรียนรู้แบบปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนกสูง และค่าความยากปานกลาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบค่า Independent และ Dependent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีประสิทธิภาพของแผน เท่ากับ 84.31/82.50 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนแบบปกติ

Article Details

How to Cite
Sukchum, R., Dechpichai, W., & Makchoochit, N. (2020). ผลของการใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกและแผนจัดการเรียนรู้แบบปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/236352
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกศรินทร์ กระมลเลิศ. (2562). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศโดยใช้กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เทคนิค หนูเสน. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำและอากาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหารเทา จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ สารมาตย์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารและสมบัติของสารและการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังมโนคติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พุทธชาติ นาวารี. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม

สกาวรัตน์ แท่นมณี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องกระบวนการดำรงชีวิตของพืช โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นกับการสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

Ebrahim, Ali. (2007). The Effects of Traditional Learning and a Learning Cycle Inquiry

Learning. Ohio: Ohio University.