ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานแพะภาคใต้ครั้งที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของของผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานแพะภาคใต้ครั้งที่ 1 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานแพะภาคใต้ ครั้งที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย และใช้สถิติ เชิงพรรณนา อธิบายลักษณะของข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ Independent Sample t-test และ F-test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และช่องทางการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมงานแพะภาคใต้ครั้งที่ 1 กับตัวแปรตามคือ ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานแพะภาคใต้ ครั้งที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมงานแพะภาคใต้ ครั้งที่ 1 ผ่านช่องทางบุคคลใกล้ชิดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.30 รองลงมาคือ สื่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 26.10 2) การประเมินระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมงานแพะภาคใต้ ครั้งที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน และ 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมงานแพะภาคใต้ ครั้งที่ 1 พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และศาสนามีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฏิ์ติณห์ ต้มไธสง (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการคอร์สการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ออนไลน์ในผู้ผ้ที่ตั้งครรภ์แล้ว (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
เจตนัยธ์ เพชรศรี. (2552) การเปิดรับสื่อและความต้องการเนื้อหาข่าวสาร ของนักการเมืองท้องถิ่นจากสื่อขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี). สืบค้นจาก https://doI.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2009.17
ใจทิพย์ เย็นสุข. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมป์(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.
ชาตรี คำเอก และอุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. (2561). ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการการจัดการปุ๋ยเฉพาะพื้นที่สำหรับข้าวในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. รายงาน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก” (158-165). อุบลราชธานี: ,หาวิทยาลัยราชธานี.
ชาตรี คำเอก และอุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. (2562).ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ/เว็บไซต์ในโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของระบบการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้เทคนิคเกษตรแม่นยําสูง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 (1-8). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ณรงค์ สมพงษ์. (2535). สื่อเพื่องานส่งเสริมเผยแพร่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พัชรา เอี่ยมกิจการ สบายใจ และทิพวรรณ ลิมังกูร (2562). ความต้องการสื่อในการส่งเสริมการเกษตรในเมืองของสถานศึกษาในเขตชุมชนเมือง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 110-134.
ภัคภร ขวัญสุขศรี และมณีกัญญา นากามัทสึ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการใช้บริการจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทางภาคใต้ของประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 153-167.
ธันยนันท์ ปรีชาบริสุทธิ์กล. (2566). ปัจจัยที่มีอทิธิพลต่อความพงึพอใจในการให้บริการลงทะเบียนผู้ประกอบการ OTOP กรณีศึกษา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 1-10. สืบค้นจาก http://www.mpamba.ru.ac.th/images/Project/bangkok015/6317950013.pdf
ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี. (2562). เลี้ยงแพะ อาชีพเสริมด้านปศุสัตว์ สร้างกำไร 700 บาท/ตัว. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/view/1
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (2563). รายงานประเมินความ พึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของหน่วยงาน. สืบค้นจาก https://webs.rmutl.ac.th/ assets/upload/files/2021/09/20210928090846_25025.pdf
สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล, นิสากร ยินดีจันทร์, อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา,
จเร เถื่อนพวงแก้ว, ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์, และ Mwangati Whenda-Bhose NG oli. (2563). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์
(สองภาษา) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(2), 107-120.
สุธา โอมณี. (2560). การศึกษารูปแบบการเลี้ยงและวิถีการตลาดแพะเนื้อ กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฏร์ธานี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สุราษฏร์ธานี.
สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สรวิศ ธานีโต. (2563). เร่งส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงแพะส่งออกเวียดนาม จีน มาเลย์เซียความต้องการสูง. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/agricultural/411358
เอนก จันทร์เครือ และกิ่งกนก ชวลิตธำรง (2561). ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(2), 36-55.
Paul, K. (2021). Factors Effecting Customer Satisfaction and Purchase Intention: A Case Study of High Protein Food Purchase for Weight Control among Young Adults in Thailand. Songklanakarin Journal of Management Sciences, 38(1), 26-55