ต่วนอาอีเสาะ โต๊ะโซ๊ะ การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ การพูดภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok 2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หลังได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 13.07, S.D. = 1.388) สูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรม การเรียนรู้ โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok ( = 11.80, S.D. = 1.324) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน TikTok โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.41, S.D. = 0.601) ซึ่งเห็นว่าวิดีโอมีความง่ายในการดูเอ็ท ทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะ การพูดภาษาอังกฤษ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเป็นการสร้างความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุไรรัตน์ สวัสดิ์, เสน่ห์ สวัสดิ์ และวจี พวงมณี. (2559). ศึกษาปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษกับ อาจารย์ชาวต่างประเทศของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน. ใน ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยราชมงคล ครั้งที่ 9 (น. 303-311). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. http://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/679
ชลดา แสงทา. (2564). ความเป็นพลเมืองกับสื่อสังคมออนไลน์. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2(2),51-60. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/314
ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณี. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. ใน Graduate Research Conference (GRC) 2014 (น. 2839-2848). มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf
ทวีศักดิ์ ชูมา. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้รูปแบบกลวิธีการ สื่อสาร. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 126-136. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ JMA/article/view/141674/104986
ธุวพร ตันตระกูล. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ (รายงานการวิจัย). สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นภดล เลือดนักรบ, สุภาณี เส็งศรี และเทิดศักดิ์ ผลจันทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(2), 209-221. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/162968/117718
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวิริยาสาสน์.
พระศรีสิทธิมุนี. (2564). การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 6(3), 921-934. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/249629/170604
ศศิณา นิยมสุข และฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/1648/1/63010552033.pdf
สหรัฐ ลักษณสุต. (2565). ผลการใช้แอปพลิเคชัน TikTok เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียน ภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(1),61-71. https://so06.tcithaijo.org/index.php/JLIT/article/view/255379
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2550). คู่มือการสอบสัมภาษณ์. แมนไคนด์ มีเดีย. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/ article/ocsc-2550-manual-interview-khuumuuekaarsbsamphaasn.pdf
เสกสรร สายสีสด, ณัฐวุฒิ คำทวี, ธิฆัมภรณ์ แกล้วกล้า, วราภรณ์ โพนแป๊ะ, เอกรัตน์ แซ่อึ้ง และภัคจิรา ทองนิล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 15-26. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/252826 /170087
Carroll, B. (1972). Testing Communication Performance. Pergamon Press.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper & Row.
Ellis, R. (1994). The Study of Second Language Acquisition. Oxford University Press.
Harris. D. P. (1969). Testing English as a Second Language. McGraw-Hill College.
Williams, B. K., & Sawyer, S. C. (2015). Using Information Technology: A Practical Introduction to Computers & Communication. McGraw-Hill Higher Education.
Woloszyn, H. (2023, January 9). 30 Internship Interview Questions+How to Answer [Examples]. Zety. https://zety.com/blog/internship-interview-questions
Zaitun, Z., Hadi, M.S., & Indriani, E.D. (2021). TikTok as a Media to Enhancing the Speaking Skills of EFL Student’s. Jurnal Studi Guru dan Pembelajaran, 4(1), 89-94. https://e-journal.my.id/jsgp/article/download/525/434/