ปริยาพิม ฉลองเดช ปัจจัยด้านทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนคติในการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเรียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเกี่ยวกับภาษาไทย จำนวน 237 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเกี่ยวกับภาษาไทย จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามการวิจัยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.937 และ 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติในการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.08, S.D.= 0.621) เชิงคุณภาพพบว่า ลักษณะของภาษาไทยเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ภาษาไทยมีความสำคัญคือเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการเรียนอาจารย์ผู้สอนมีความพร้อมในการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยส่งผลให้นักศึกษามีเข้าใจเนื้อหาการเรียนมากขึ้น 2) พฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.12, S.D.= 0.712) เชิงคุณภาพพบว่า นักศึกษามีการศึกษา ด้วยตนเองนอกจากการเรียนในห้องเรียน และ 3) ทัศนคติโดยรวมและรายด้านส่งผลในทิศทางบวกกับพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เชิงคุณภาพพบว่า การมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทยส่งเสริมให้มีความตั้งใจในการเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (2566). พันธกิจ. https://libarts.pnu.ac.th/about-us/
ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูผิง เป้ย. (2558). ทัศนะของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน วิทยาลัยการแพทย์ ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 9(1), 44-55. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6570/ 6193
นุชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม, นัดดา วงษ์วรรณา และพิราวรรณ หนูเสน. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกปีการศึกษา 2559 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(3), 166-173. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/ 1 06234/84142
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ และอธิพงษ์ เพชรสุทธิ์. (2564). พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 235-244. https://so06.tci-thaijo.org/ index.php/jra/article/view/247069/169613
วัสสิกา รุมาคม. (2561). กลวิธีการเรียนภาษาไทยและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 21(2), 36-49. http://www.journal.ru.ac.th/media/static/pdf/fulltext/None/2019-03-28_ZZkK OxZ.pdf
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อักษรศิลป์ การพิมพ์.
สุพัตรา สมนึก. (2550). กลวิธีการเรียนและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยของนักเรียนมุสลิม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดยะลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2554). ภาษาไทย 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.
Triandis, H. C. (2001). Attitude and attitude change. McGraw-Hill.
Weinstein, C. E. & Mayer, D.G. (1986). The teaching of learning strategies. In M.C.Wittrock (Ed.). Handbook of research on teaching (3rd ed.). Mcmilliam.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper & Row.