ฐิติกานต์ ภูอาราม การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาการแก้ปัญหาของนักเรียนตามรูปแบบ SSCS 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองแซง จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สถิติที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การเรียนด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) แหล่งการเรียนรู้ (3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (4) ศูนย์ส่งเสริมการทักษะการแก้ปัญหา (5) ฐานการช่วยเหลือ และ (6) การโค้ช 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจ ในการเรียนด้วยสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามรูปแบบ SSCS อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.69)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา ขุนอาจ, คงรัฐ นวลแปง, ผลาดร สุวรรณโพธิ์ และขณิชถา พรหมเหลือง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเปิดผสมผสานโมเดล SSCS ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหอพักชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 34-46. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/95170/15 1822
ณิชา พันธ์กนก. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/1643/1/63010552021. pdf
ธันยพัฒน์ พันธุ์พำนัก. (2563). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/ 145/1/60010283013.pdf
นริศรา สำราญวงษ์, อำพันธ์ชนิต เจนจิต และคงรัฐ นวลแปง. (2560). พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางคณิตศาสตร์ผ่านการจัดการการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง SSCS ข้อมูลการสมัครสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 254-264. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view /79140/63293
วรรณนิภา สารสุวรรณ. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพชราภรณ์ เฮมกลาง และสุมาลี ชัยเจริญ. (2560). การออกแบบของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ผ่านการสังเคราะห์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โครงสร้างโลกของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 1-18.
อารยา ยุวนะเตมีย์. (2560). การเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการพัฒนาการรับรู้ความสามารถ การรับรู้ความสามารถตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้วิธีประเมินตนเองต่างๆ การใช้รูบริกคำอธิบายประกอบและวิธีการสำรวจปลายเปิด[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีสุดา อ่อนบัตร. (2563). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุระ น้อยสิม และสุชาติ วัฒนชัย. (2563). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เรื่อง คำสั่งควบคุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(77), 50-61. https://so02 .tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/162930/165041
Jonassen, D. (1999). Designing constructivist learning environments. In C. Reigeluth, (Ed.), Instructional- design theories and models: A new paradigm of instructional theory. University Park: Pennsylvania State University.
Pizzini, E.L., Shepardson, D.P., & Abell, S.K. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model instruction in Science Education. Science Education, 75(5), 523-534. https://doi.org/10.1002/sce.3730730502
Riasat, A. (2010). Effect of Using Problem Solving Method in Teaching Mathematics on the Achievement of Mathematics Students. Asian Social Science, 6(2), 67–72.
Yasin, M., Fakhri, J., Siswadi, Faelasofi, R., Safi’i, A., Supriadi, N., Syazali, M., & Wekke, I.S. (2020). The effect of SSCS learning model on reflective thinking skills and problem solving ability. European Journal of Educational Research, 9(2), 743-752. https://doi. org/10.12973/eu-jer.9.2.743