ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการแสดงทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลูโบะบูโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการแสดงทางวิทยา
ศาสตร์2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน 3) ศึกษาความคงทนของความรู้หลังเรียน 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลูโบะบูโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 รวม 32 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้เวลาในการเรียนรู้ 23 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชุด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการ
แสดงทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน และ 3) แบบทดสอบวัดความคงทนของความรู้ในการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการแสดงทาง
วิทยาสาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้ค่าเท่ากับ 0.78 ดำเนินการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนน
เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 20.10 และค่าเฉลี่ยร้อยละหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 70.00 2)
ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับดีขึ้นไปจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.12 ซึ่งเกินจำนวนครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั้งหมด และ 3) ความคงทนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ
โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการแสดงทางวิทยาศาสตร์เมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน