การพัฒนาสุขภาวะองค์กรด้วยการจัดการความรู้
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาและวิเคราะห์ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพัน ความสุข และสุขภาวะองค์กร ของบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ 28 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 34 คน เครื่องมือที่
ใช้มี 3 ชุดได้แก่ แบบวัดความสุขคนทำงาน แบบประเมินความพึงพอใจและความผูกพันในองค์กร และแบบประเมินสุขภาวะภาครัฐ นำไปหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ได้เท่ากับ 0.73, 0.97, และ 0.95 ตามลำดับ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x= 4.36, S.D. = 0.68, x= 4.39, S.D. = 0.54)
อาจารย์พึงพอใจด้านนโยบายและการบริหารงานต่ำสุด (x= 3.98, S.D. = 0.61) บุคลากรสายสนับสนุนพึงพอใจด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการต่ำสุด (x= 3.87, S.D. = 0.75) 2) ความผูกพันในองค์กรของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนโดยรวม
อยู่ในระดับมาก (x= 4.11, S.D. = 0.56,x = 4.10, S.D. = 0.51) ส่วนความสุขของคนทำงานพบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 มีความสุข บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.8 มีความสุข 3) ผลการประเมินสุขภาวะองค์กร อาจารย์เห็นว่าสุข
ภาวะของคนในองค์กรนี้อยู่ในระดับน่าปลื้มที่สุด ร้อยละ 39.10 ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนเห็นว่าสุขภาวะของคนในองค์กรนี้อยู่ในระดับกำลังพัฒนา ร้อยละ 39 และ 4) ผลการประเมินหลังการพัฒนาพบว่า อาจารย์ต้องการให้วิทยาลัยปรับปรุงใน
3 ลำดับได้แก่ ส่งเสริมความสมดุลของการดำเนินชีวิตกับการทำงาน ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร และบรรยากาศในการทำงาน ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนต้องการให้วิทยาลัยปรับปรุงใน 3 ลำดับได้แก่ ความก้าวหน้าในอาชีพ การจัด
สวัสดิการให้บุคลากร และบริหารผลตอบแทนการทำงาน