การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาแบบเรื่องเล่า

Main Article Content

อัญญา ปลดเปลื้อง
อัญชลี ศรีจันทร์
สัญญา แก้วประพาฬ

Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความสำคัญมาก ที่ช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในพฤติกรรมของผู้สูงอายุ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับการทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เหมาะสม อัน
จะส่งผลให้สุขภาพของประชาชนและอายุขัยรวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาและเพิ่มคุณค่าให้กับ ผู้สูงอายุ การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิธีวิทยาแบบเรื่องเล่า เพื่อนำไปสู่การ
ค้นหาความรู้ผ่านการเล่าเรื่องราว เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปที่มีศักยภาพในการดำรงชีวิต จำนวน 6 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ร่วมกับการบันทึกเทป กล้อง
เอกสาร ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลตามการจำแนกชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
วิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่ค้นพบได้ 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 2) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3) มีความรัก ความผูกพันกับครอบครัว 4) เสียสละเพื่อส่วนรวม และ 5) ทำจิตใจให้สงบ ใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง ดังนั้นผู้
เกี่ยวข้องจึงควรสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ พำนักอาศัยอยู่กับบุตรหลาน ได้ทำกิจกรรมที่เป็นการเสียสละแก่ส่วนรวม และทำจิตใจให้สงบ สวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ

Article Details

How to Cite
ปลดเปลื้อง อ., ศรีจันทร์ อ., & แก้วประพาฬ ส. (2017). การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษาแบบเรื่องเล่า. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1), 91–104. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/74972
Section
Research Article