แบบจำลองการวัดความสำเร็จของกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและสร้างแบบจำลองการวัดความสำเร็จด้วยรูปแบบจำลองเชิงโครงสร้างบนพื้นฐานแนวคิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจแบบคานวาสและการวัดความสำเร็จเชิงดุลยภาพ การออกแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณและคุณภาพกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารทั่วประเทศ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 รายจากภาคต่างๆ จำนวน4ภาค ได้แก่ ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคใต้ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและการตรวจสอบความเที่ยง โดยในภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรไม่ใช่อาหาร ได้แก่ พันธมิตรหลัก และ ทรัพยากรหลัก อยู่ในระดับมาก และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คุณค่าของสินค้าและบริการ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย รายได้หลัก พันธมิตรหลัก กิจกรรมหลัก โครงสร้างต้นทุนและความสำเร็จในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง จากการศึกษาตัวแปรเชิงประจักษ์ 40 ตัวแปร ได้รูปแบบจำลองการวัดความสำเร็จจากอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรไม่ใช่อาหารได้แก่ปัจจัยทางด้านโครงสร้างต้นทุน ด้านกิจกรรม ด้านทรัพยากร ด้านรายได้ ด้านพันธมิตร ด้านลูกค้าเป้าหมาย ด้านคุณค่าของสินค้า/บริการ ด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกลุ่มสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จได้ร้อยละ 90ประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำแบบจำลองการวัดความสำเร็จไปใช้วัดผลการดำเนินงานด้วยตนเองและนำผลลัพธ์ไปปรับปรุงได้อย่างมีเป้าหมาย ลดเวลาและความเสี่ยงต่อความไม่สำเร็จของธุรกิจรวมทั้งนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมกลุ่มสินค้าโอทอปประเภทสมุนไพรไม่ใช่อาหาร
Article Details
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2557). สรุปผลการดำเนินงาน โครงการลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ปี
-2558 .
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร
(executive journal), 34(1), 177-191.
นิศารัตน์ โชติเชย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการผลิต สำหรับสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง.
พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ, ชมพูนุท โมราชาติ และ กัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8(2), 207-238.
Cosenz, F. & Noto, G. (2017). A dynamic business modelling approach to design and experiment new
business venture strategy. Long Range Planning, https://dx.doi.org/10.1016/j.Irp.2017.07.001
Haggege, M., Gauthier, C., & Rulling, C.-C. (2017). Business model performance: Five key drivers, Journal of
Business Strategy, 38(2), 6-15.
Joreskog, K. & Sorbom, D. (1996), LISREL 8: User's Reference Guide. Chicago, IL: Scientific Software
International Inc.
Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (2008),The Executive Premium: Linking Strategy to Oprations for Competitive
Advantage, Harvard Business Publishing.
Mason, K., & Spring, M. (2011). The site and practices of business models. Industrial Marketing Management,
, 1032-1041.
Matzier, K.,Bailom, F.,Eichen,S. F.V.D.&Kohler, T. (2013).Business model innovation: coffee triumphs for
Nespresso. Journal of Business Strategy, 34(2), 30-37.
Osterwalder, A. &Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers,
and Challengers. New York: Wiley.
Wiesnera, S., Padrockb, P., &Thoben, K.-D. (2014). Extended Product Business Model development in four
manufacturing case studies,Procedia CIRP, 16, 110-115.
Wrigley, C., Bucolo, S. &Straker, K. (2018). Designing new business models: blue sky thinking and testing,
Journal of Business Strategy, 37(5), 22-31.