รจเรข กำแหงกิจ การประเมินสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
DOI : 10.14456/pnuhuso.2024.2
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษา และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 62 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิจัย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired Samples T-Test) และการถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความคาดหวังในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.05, S.D.=0.55) ส่วนสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.99, S.D.=0.57) 2) สภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาโดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย และการเขียนบรรณานุกรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ไม่พบตัวแปรปัจจัย ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นจริงในการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2559). การศึกษาปัญหาการทำวิจัยและแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (น. 60-68). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิต ทิพากร. (2550). การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ). อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะศิลปศาสตร์. (2564). รายละเอียดของรายวิชา มคอ.3 การศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study) รหัสวิชา 11-034-221. ผู้แต่ง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อักษรศิลป์การพิมพ์
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.
Gagné, R. M. (1985). The Conditions of Learning (4th ed.). Rinehart and Winston.
Smith, R. & Huston, M. (1983). Emerging Perspectives on Services Marketing. Lexington Books and Macmillan.
Tyler, R. W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. University of Chicago Press.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2000). Strategic Management and Business Policy (11st ed.). Prentice Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper & Row.