พิชญาวีร์ ธิติจรัสชัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์บราวนี่ภายใต้แบรนด์ Triple J bakery
Main Article Content
บทคัดย่อ
DOI : 10.14456/pnuhuso.2024.1
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์บราวนี่ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บราวนี่ Triple J bakery และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บราวนี่ Triple J bakery จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ซื้อบราวนี่จากร้าน Triple J bakery จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า บรรจุภัณฑ์รูปแบบ A (กล่องมีสีน้ำตาล มีลายที่โดดเด่น) ได้รับการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญและบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านบรรจุภัณฑ์ให้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการสื่อสารการตลาดมีอำนาจในการพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บราวนี่ Triple J bakery ร้อยละ 44.9 และผู้บริโภคที่มีอายุและสถานภาพสมรสต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บราวนี่ Triple J bakeryแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนิษฐ์กานต์ พรหมราษฎร์. (2556). กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจเบเกอรี่. วารสารสุทธิ-ปริทัศน์, 27(83), 58-77. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/ view/245072/166630
กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2559). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้า ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3005/3/kittiwat_jitt.pdf
กัญจ์นวีร์ ณ ป้อมเพ็ชร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/3995/1/TP %20MM.004%202564.pdf
กัญญาวีร์ อินทร์สันต์ และบุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 79-91. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/244696/168549
เจณิภา คงอิ่ม. (2564). รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับพิเศษ, 342-358. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/258115/172194
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2555). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับงานสาธารณสุข. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรวจี บุญเลี้ยง. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แคบหมูนายแม่ จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. http://ir.mju.ac.th/dspace/bitstream/123456789/114/1 /5806401045 .pdf
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงวาดศิลป์.
รัตนวารี นันท์ชัยพฤกษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ภายใต้ แบรนด์ Amery [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th /bitstream/123456789/2572/1/TP%20MM.074%202560.pdf
รัฐวิทย์ ทองภักดี. (2555). 30 กลยุทธ์ลับพิชิตตลำดเหนือคู่แข่ง. ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.
วรรณภรณ์ สุขแจ่ม. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อเบเกอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. https://repository. rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/3017/HEC_62_14.pdf?sequence=1&isAllowed=y
วีรณา นภากร.(2561). รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้อบแห้ง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 8(1), 37-46.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565, 17 มีนาคม). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม. http://www.kasikornbank. com
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2562, 20 ตุลาคม). สำรวจพฤติกรรมเสพสื่อที่เปลี่ยนไปของ คนไทย. https://www.tcijthai.com/news/2019/10/scoop/9502
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
สรรชัย เจิมประสาทสิทธิ์. (2561). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ต กับภาพลักษณ์ ตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจในการใช้บริการ : กรณีศึกษาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002031455_9315_9584.pdf
อุมาวดี วุฒินาม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดร้านเบเกอรี่ บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
De Bruyn, A., & Lilien, G.L. (2008). A multi-stage model of word-of-mouth influence through viral marketing. International journal of research in marketing, 25(3), 151-163.
Fuller, G. W. (2011). New food product development : from concept to marketplace. FL: CRC Press.
Kotler P. & Keller K. (2012). Marketing Management (14th ed.). Pearson Education Limited.
Kudeshia C. & Kumar A. (2017). Social eWOM: does it affect the brand attitude and purchase intention of brands. Management Research Review, 40(3), 310-330. https://doi.org/10 .1108/MRR-07-2015-0161
Lim, B. C., & Chung, C. M. Y. (2014). Word-of- mouth The use of source expertise in the evaluation of familiar and unfamiliar brands. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 26(1), 39-53. https://doi.org/10.1108/APJML-02-2013-0027
Murphy, R., Karimzadeh, M., & Wicks, A. (2007). Inventing a lifestyle brand. WWD: Women's Wear Daily, 194(79), 46.
Robertson, G. L. (2013). Food packaging: Principles and practice (3rd ed.). FL: CRC Press.
Solomon, M. R. (2018). ConsumerBehavior: Buying, Having,and Being (12th ed.). Pearson Education.