การปฎิเสธการให้ความร่วมมือของวาทกรรมทางการเมือง: การละเมิดคติบทของไกรซ์ในการโต้วาทีของประธานาธิบดีปี 2560

ผู้แต่ง

  • Chamaiporn Buddharat Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
  • Eric A. Ambele School of Liberal Arts, King Mongkut’s University of Technology Thonburi
  • Yusop Boonsuk Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University

คำสำคัญ:

การละเมิด, การไม่ให้ความร่วมมือ, การให้ความร่วมมือ, คติบทของไกรซ์, วาทกรรมทางการเมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ได้วิเคราะห์รูปแบบและวิธีการต่างๆ ที่นักการเมือง (ระหว่างการโต้วาทีประธานาธิบดี) ได้ละเมิดหลักสหการหรือหลักความร่วมมือ (CP) ในการสื่อสาร คติบทของไกรซ์ทั้ง 4 ข้อได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์งานวิจัยในการศึกษาการโต้วาทีของประธานาธิบดีครั้งที่ 2 ในปี 2559การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานเชิงลึกอย่างเป็นธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับวาทกรรมทางการเมืองในปัจจุบัน นอกเหนือจากนี้ ยังทำให้เห็นถึงความไม่ร่วมมือและความไม่ซื่อสัตย์ของนักการเมืองผ่านบทสนทนาโดยวิธีการละเมิดคติบทแห่งการสนทนาของไกรซ์ข้อมูลที่ได้ถูกนำไปถอดความและวิเคราะห์ในลักษณะของบทสนทนาแบบเป็นนัยยะ แนวคิดเชิงคุณภาพและปริมาณถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดหลักในการวิจัยในครั้งนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คติบทในการโต้วาทีทางการเมืองนั้นสามารถละเมิดได้หลากหลายวิธี โดยสามารถจำแนกได้เป็น การเลือกไม่ใช้คติบท การขัดแย้งระหว่างคติบท การเยาะเย้ยคติบท และการละเมิดคติบท โดยการละเมิดคติบทของบทสนทนาแบบเป็นนัยยะแสดงให้เห็นว่านักการเมืองได้ปฎิเสธการให้ความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ชัดเจนที่การโต้ตอบของนักการเมืองได้แสดงถึงความเป็นนัยยะ คือการเยาะเย้ยคติบท โดยเฉพาะในเชิงของหลักปริมาณ หลักคุณภาพและความตรงประเด็นส่วนในด้านของลักษณะหรือวิธีการพบว่า มีการใช้คติบทด้านนี้น้อยมาก จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพูดโต้วาทีทางการเมืองนั้น ความเชื่อใจของบุคคลความครบถ้วนของข้อมูลหรือการนำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วนไม่สามารถทำให้ผู้ฟังหรือผู้ชมเข้าใจในสิ่งที่นักการเมืองสื่อสารได้อย่างทันทีทันใด แต่จำเป็นต้องอาศัยดุลยพินิจของผู้ชมหรือผู้ฟังมาประกอบในการทำความเข้าใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19