ไปให้ไกลกว่า “วารสารศาสตร์สันติภาพ”: บทสำรวจว่าด้วยการสื่อสารทางเลือกในความขัดแย้งที่ชายแดนใต้
คำสำคัญ:
การสื่อสารภาคประชาชน, จังหวัดชายแดน ภาคใต้, วารสารศาสตร์แนวมนุษยนิยม, วารสารศาสตร์สันติภาพบทคัดย่อ
งานศึกษานี้มุ่งทำการทบทวนองค์ความรู้ด้านการสื่อสารทางเลือกในความขัดแย้งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพบว่า ภายใต้สมมติฐานที่ว่า“สื่อเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะขยายหรือจำกัดความรุนแรงของสถานการณ์” จึงทำให้แนวคิด“วารสารศาสตร์สันติภาพ” ถูกกล่าวถึงในฐานะแนวคิดทางเลือกที่สำคัญ แต่แนวคิดดังกล่าวต้องเผชิญกับข้อจำกัด ประการ ก็คือ ข้อจำกัดเชิงแนวคิด จากประเด็นถกเถียงเรื่อง “ระบอบแห่งภววิสัย” (objectiveregime) ในฐานะอุดมการณ์หลักของนักวิชาชีพ ขณะที่ข้อจำกัดเชิงบริบทสังคมไทยกลับต้องเผชิญข้อท้าทายที่สำคัญคือ “โลกทัศน์แบบกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง”(Bangkok - centric mindset) สำนึกสำคัญที่ติดตัวนักวิชาชีพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายกับโต๊ะข่าวและกองบรรณาธิการจากส่วนกลาง ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวทำให้แนวคิด “วารสารศาสตร์สันติภาพ”ไม่สามารถสนองตอบต่อสถานการณ์ที่พลเรือนมือเปล่าต้องเผชิญชะตากรรมในพื้นที่ความขัดแย้ง ทั้งนี้ข้อเสนอเรื่อง “นิเวศวิทยาข่าวสาร” ได้พาก้าวข้ามให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารทางเลือก การสื่อสารภาคพลเมือง การสื่อสารภาคประชาชน ที่ควรถูกสถาปนาเป็น“วารสารศาสตร์แนวมนุษยนิยม” ในฐานะกระบวนทัศน์ใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนโดยมีบทบาทที่โดดเด่นหลายประการแต่ยังขาดการศึกษาที่ลงลึกและจริงจังในฐานะเครื่องมือของการต่อรองความรุนแรงของผู้คนสามัญ สื่อเหล่านี้จึงควรได้รับการส่งเสริมทั้งในแง่มุมของการศึกษาวิจัยและความเข้มแข็งเพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง ณ ชายแดนใต้อย่างสร้างสรรค์