“บวร” บ้าน วัด โรงเรียนกับความเป็นพื้นที่สาธารณะ กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธัชมาศ สุเวช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศุภลักษณ์ แสวงทรัพย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มาลี สบายยิ่ง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

บวร, พื้นที่สาธารณะ, ชุมชนบ้านท่านางหอม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนในชุมชนบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย   อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากชาวบ้านชุมชนบ้านท่านางหอม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ 3 สถานที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ ตลาดนัดท่านางหอม วัดท่านางหอม และโรงเรียนวัดท่านางหอม 0eo;o 10 คน แล้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า บ้าน วัด โรงเรียน มีการใช้ประโยชน์บนพื้นที่สาธารณะ ตามแนวคิดพื้นที่สาธารณะของฟูโกต์ทั้งหมด4 ประการ ดังนี้ 1) พื้นที่สาธารณะกับยุคสมัย พบว่า  บ้าน วัด โรงเรียน ของชุมชนบ้านท่านางหอมล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ของวัดท่านางหอมทั้งหมด ซึ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็ยังคงความเป็น “บวร” มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) พื้นที่สาธารณะกับบทบาท-หน้าที่ทางสังคม พบว่า วัดถือเป็นสถานที่รองรับกิจกรรมทางศาสนา เป็นศูนย์รวมใจของคนในชุมชนบ้านท่านางหอม และเป็นพื้นที่สาธารณะเป็นพืชพื้นทีส่ าธารณะทีไ่ ดใ้ หพื้น้ ที่กับตลาดนัดและโรงเรียน 3) พื้นที่สาธารณะกับการอยู่ร่วมกัน พบว่า  พื้นที่สาธารณะทั้ง 3 สถานที่ ล้วนมีความสัมพันธ์ร่วมกันไม่มีความขัดแย้งกัน สังเกตได้จากการให้ความร่วมมือจากทางโรงเรียน วัด และชาวบ้านในชุมชน 4) พื้นที่สาธารณะกับการเชื่อมโยงพื้นที่อื่น พบว่า วัดท่านางหอมถือเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนวัดท่านางหอมและตลาดนัดท่านางหอมเข้าด้วยกันในรูปแบบของสามเหลี่ยมความสัมพันธ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-04