ก่อนระบบกษัตริย์ : จารีตอุดมการณ์อำนาจอ่านระบบสังคมดั้งเดิมเชิงวิวัฒนาการ

ผู้แต่ง

  • ศรันย์ สมันตรัฐ Faculty of Architecture, Kasetsart University

คำสำคัญ:

ภูมิทัศนวัฒนธรรมการเมือง, สังคมบุพพกาล, อ่านภูมิทัศนสถาปัตยกรรม, กะเหรี่ยง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จารีตอุดมการณ์

บทคัดย่อ

   บทความนี้เสนอข้อสันนิษฐานวิวัฒนาการของระบบสังคมการปกครอง-ศาสนาดั้งเดิมในภูมิภาค คาดคะเนลงมาตามลำดับเพื่อเป็นแบบจำลองช่วยทำความเข้าใจ โดยเป็นผลจากการอ่านภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างสัมพัทธ์จากองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างอุปกรณ์พิธีกรรม  ขอบเขตอำนาจสถานะตัวแทนภายในระบบผู้นำผู้ก่อตั้ง, และ ท้ายสุดคือจารีตอุดมการณ์ทางสังคมของระบบ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจากการวิจัยภาคสนามและเอกสารวรรณกรรมทบทวนในชาติพันธุ์ในประเด็นเกี่ยวข้องครอบคลุมถึงภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้สามารถอธิบายอย่างนิยามทั่วไป ในแบบจำลองดังกล่าวได้จัดลำดับวิวัฒนาการของระบบก่อนกษัตริย์ 6 ระยะ หรือ ระบบผู้ก่อตั้ง 5 ระยะรวมกับระยะระบบเปลี่ยนผ่าน โดยใช้เกณฑ์จากสถาปัตยกรรมอันสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่สัมพันธุ์กับลำดับขอบเขตและปริมาณทางอำนาจของผู้นำ ช่วยจำแนกวิวัฒนาการ  ระบบผู้ก่อตั้ง 5 ระยะได้แก่ ระยะระบบก่อนชุมชน, ระยะระบบผู้นำศาลเพียงตา, ระยะระบบผู้นำศาลาที่นั่ง, ระยะระบบผู้นำศาลาโรงเรือน, ระยะระบบผู้นำศาลาโรงเรือนศาลาโรงเรือนร่วมกับศาลาที่นั่ง ท้ายสุดและสำคัญ คือ ระยะระบบเปลี่ยนผ่านจากลัทธิผู้ก่อตั้งสู่ระบบรัฐ    การสันนิษฐานถึงช่วงวิวัฒนาการนำเสนอถึงความสัมพันธ์เชิงตำแหน่งในระบบปกครองสัมพัทธ์กับสถาปัตยกรรมวัตถุรวมถึงเงื่อนไขทางสังคมการเมืองภูมิศาสตร์อุดมการณ์ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อเป็นแบบจำลองช่วยทำความเข้าใจ มิใช่เป็นวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงจากแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งเชิงเส้นตรง การจัดลำดับนี้จะนำไปสู่การอภิปรายถึงอุดมการณ์จารีตที่พบว่าวิวัฒนาการร่วมกันมาโดยตลอดแล้วแยกไปสองทิศทางภายหลังระยะระบบผู้ก่อตั้งช่วยให้เข้าใจความกำกวมระหว่างปริมณฑลทั้งสอง คือ อำนาจจารีตสถาบันพระมหากษัตริย์หน่อกษัตริย์กับอำนาจจารีตหน่อปวงชนหรืออำนาจของปวงชนชาวไทยที่มีมาก่อนรัฐธรรมนูญการปกครองไทยฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน    อุดมการณ์จารีตเหล่านั้น ได้แก่ แบบจำลองความคาดหวังสืบพันธุ์ให้กำเนิด , อุปลักษณ์บุคคลาทิษฐาน, การถ่ายทอดจารีตเชิงปฏิบัติผ่านความกลัวและกำกวม ในทิศทางอำนาจจารีตหน่อกษัตริย์ และ จารีตพื้นที่สาธารณะแบบปรึกษาหารือในทิศทางอำนาจจารีตหน่อปวงชน และท้ายสุดคือ ความกำกวมระหว่างขอบเขตอำนาจทั้งสอง โดยพิจารณาจาก เขตแดน จำนวนประชากร ขนาดและคุณภาพของอำนาจ   ด้วยกรอบคิดทางประวัติศาสตร์ระยะยาวพบว่าแบบจำลองก่อกำเนิดทางสังคมเป็นอุดมการณ์จารีตสำคัญที่เก่าแก่มากและมีลักษณะเป็นโครงสร้างของจิตไร้สำนึกอย่างทั่วไปในโลกและภูมิภาค  ทว่าการถูกขับเน้นในปริมณฑลสัญลักษณ์ในแบบแผนจารีตนิยมในประเทศทำให้กลายเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจชี้นำเดิมอย่างแยบคาย    การปฏิเสธความจริงที่ว่าอำนาจจารีตปวงชนก็มีมานานเช่นเดียวกับอำนาจจารีตพระมหากษัตริย์เป็นความขัดแย้งอย่างจงใจระหว่างปริมณฑลอำนาจทั้งสองทำให้เกิดวิกฤติการณ์ของอำนาจชี้นำของระยะระบบเปลี่ยนผ่านแบบเสียดุลยภาพ    การฉายภาพภูมิทัศน์จารีตความคิดที่ยังปรากฏฝังอยู่ในไทยปัจจุบันช่วยรื้อถอนการครอบงำอำนาจนำในสังคมไทยให้เปลี่ยนแปลงสู่สังคมปัญญาสันติภาพด้วยองค์ความรู้ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08