แนวคิดสงครามสมัยใหม่ : ความรุนแรงกับสภาวการณ์ทางสุขภาพจิตของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อารีลักษณ์ พูลทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

สงครามสมัยใหม่, สุขภาพจิต, ความรุนแรง, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน  และมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วมากกว่า 13,243 ครั้ง และ เป็นผลให้ให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วมากกว่า 15,931 คน[1]  สถานการณ์ความรุนแรงมีแนวโน้มที่เรียกกันว่าเป็นความรุนแรงที่มีภาวะคงที่ (constant violence) และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปสู่ความรุนแรงเชิงคุณภาพมากขึ้น  โดยเห็นได้จากรูปแบบหรือวิธีการในการก่อความไม่สงบที่มีลักษณะของการทำลายล้างสร้างความสูญเสียมากขึ้น  มุ่งให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมากขึ้น  โดยเฉพาะความสูญเสียต่อชีวิตและร่างกายของฝ่ายพลเรือน  สถานการณ์ความรุนแรงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิตของประชาชน  โดยเห็นได้จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิตของประชาชนพื้นที่ 3 จชต. ทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และ โรคจิตมีค่าสูงขึ้นหรือลดลงแปรผันไปในทิศทางเดียวกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างน่าวิตกกังวล  รวมทั้ง ยังมีแนวโน้มที่สอดคล้องกับความรุนแรงเชิงคุณภาพเป็นมากกว่าความรุนแรงเชิงปริมาณ  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเรื่องการสงครามสมัยใหม่ที่มุ่งสร้างความสูญเสียให้กับเป้าหมายที่เป็นพลเรือน  เนื่องจากเป็นเป้าหมายอ่อนแอไม่สามารถป้องกันตนเองและต่อสู้ตอบโต้ได้  และเมื่อเกิดความสูญเสียจะสร้างหวาดกลัว ความสะเทือนใจและสะเทือนอารมณ์ให้กับสังคมได้มากกว่าเป้าหมายในฝ่ายความมั่นคง  ดังนั้น สุขภาพจิตของประชาชนจึงควรได้รับการดูแลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  และควรมีจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช และนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จชต.เพิ่มมากขึ้น 

 

[1] ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้  สรุป  ณ  วันที่ 30 มิ.ย. 56 

References

mental health, violence situation, southern border of
สงครามสมัยใหม่, สุขภาพจิต, ความรุนแรง, จังหวัดชายแดนภาคใต้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-16