ปาราสิตสถาปนา: พยาธิใบไม้ตับและสงครามแห่งการรักษาในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ทุติยาภรณ์ ภูมิดอนมิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ 
  • ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปาราสิตวิทยา, พราซิควอนเทล, มะเกลือ, โรคพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสถาปนาโรคพยาธิใบไม้ตับให้เป็นประเด็นปัญหาทางการแพทย์รวมถึงการทำให้ประเด็นปัญหาสังคมอย่างเช่นอาหารทางวัฒนธรรมกลายเป็นปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ  ขอบข่ายของการศึกษาเริ่มต้นจากการปรากฏขึ้นของตำราปาราสิตวิทยาในราชแพทยาลัยศิริราชและพยาบาลในพ.ศ. 2457 จนเข้าสู่ยุคของการมีตัวตนที่เข้มข้นขึ้นของหลักสูตรปาราสิตวิทยาซึ่งได้รับการปรับปรุงโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในทศวรรษ 2460และจนเข้าสู่การค้นพบวงชีพจักรของโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งเป็นความชอบธรรมในการสถาปนา การป้องกัน และการรักษาโรคโดยยาแผนปัจจุบันของตะวันตก คือ พราซิควอนเทล  ผลของการศึกษา พบว่า องค์กรข้ามชาติ อาทิ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มีบทบาทสำคัญในการสถาปนาโรคและพื้นที่โรคพยาธิใบไม้ตับในสังคมไทยผ่านราชแพทยาลัยศิริราชและพยาบาล จนปรากฏเป็นรูปแบบกิจกรรมทางสุขภาพอันนำมาสู่การรณรงค์เพื่อป้องกันและรักษาโรค  ทั้งนี้ รูปแบบของการให้ความรู้และการรักษาด้วยยาที่ผลิตโดยวิทยาการของตะวันตกเพื่อรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับที่ถูกนิยามให้เป็น “โรคประจำถิ่น” ซึ่งเมื่อก่อนเชื่อว่าสามารถควบคุมและรักษาได้ด้วยการแพทย์แบบจารีตโดยสมุนไพรพื้นบ้านได้ทำให้สังคมไทยต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การพึ่งพายาแผนปัจจุบันและอุตสาหกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ดำเนินการโดยรัฐได้อย่างเบ็ดเสร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08