Netnography: ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อแสวงหาความจริง ในชุมชนและวัฒนธรรมออนไลน์แห่งยุคโพสต์โมเดิร์น

ผู้แต่ง

  • ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

Netnography, ชุมชนและวัฒนธรรมออนไลน์

บทคัดย่อ

การแสวงหาความจริงในยุคโพสต์โมเดิร์น (Postmodern Age) ที่เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นยุคสมัยแห่งการท้าทายกระบวนทัศน์การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ยึดถือกันเป็นประเพณีมานานในยุคสมัยใหม่ (Modern age) ซึ่งเชื่อในเหตุและผลอันเป็นความจริงหนึ่งเดียวที่เป็นสากล สิ่งต่าง ๆ ในโลกสามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) บ้างก็เรียกกลุ่มคนที่เชื่อตามแนวทางเหล่านี้ว่าพวกปฎิฐานนิยม (Positivist) แต่แนวทางการแสวงหาความจริงในยุคโพสต์โมเดิร์นกลับเปลี่ยนความเชื่อที่เคยยึดถือกันมา ไม่พ้นแม้กระทั่งเรื่องศาสนาที่พบว่า ในยุคโพสต์โมเดิร์นนั้น ศาสนายังถูกกะเกณฑ์ให้เป็นความจริงของแต่ละบุคคลมากกว่าที่จะเป็นความจริงสูงสุดที่เป็นสากล ศาสนิกชนต่างเลือกหยิบและผสมความเชื่อความศรัทธาจากหลากหลายแนวทางมาปรับใช้ในชีวิตตนเอง แม้กระทั่งการรวมตัวทำพิธีกรรมทางศาสนาก็เปลี่ยนไป โดยไม่จำเป็นต้องมาพบหน้าค่าตากันเช่นเคยเป็นมา (ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์, 2558) .... อ่านต่อ....

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-16