A Social Media Based Learning System: An Investigation on the use of the Line Application for Teaching and Learning English Vocabulary and Grammar at a Thai Public University

ผู้แต่ง

  • Alan Robert White

คำสำคัญ:

ไลน์แอบพลิเคชัน, ภาษาอังกฤษ, การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การสอนแบบเว้นระยะห่างซ้ำๆ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาสามารเพิ่มความสนใจแต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมีไม่มาก สื่อสังคมสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษา  จากประโยชน์ดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนในหลายประเทศ เช่น ประเทศไทยซึ่งนักเรียนนักศึกษาส่วนมากมีพื้นฐานภาษาค่อนข้างน้อย นอกจากนี้การใช้สื่อสังคมในการเรียนการสอนภาษาได้ทั้งนอกห้องเรียนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้แบบยืดหยุ่นหรือตามความสะดวก  การศึกษานี้มุ่งเน้นการใช้สื่อสังคมคือไลน์แอบพลิเคชันสามารถส่งเสริมและมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนแบบเว้นระยะห่าง ซ้ำๆโดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้นอกห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาการโรงแรมจำนวน 101 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย  การใช้ไลน์แอบพลิเคชันเป็นสื่อการเรียนการสอนไวยากรณ์ และคำศัพท์ และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนนอกห้องเรียน  แบบสอบถาม การสัมภาษณ์  คะแนนก่อนและหลังการเรียนการสอน และการสังเกตเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลดิบผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีผลการเรียนไวยากรณ์ และคำศัพท์สูงกว่า  ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนการสอนโดยใช้ไลน์แอบพลิเคชัน แบบผสมผสานทั้งในและนอกห้องเรียน ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะใช้ไลน์แอบพลิเคชันกับการเรียนการสอนแบบซ้ำๆ เป็นสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพสูง  การศึกษานี้เสนอแนะว่าผู้สอนภาษาอังกฤษสามารถใช้วิธีการสอนแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลก

 

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01