แนวคิดพุทธปรัชญามหายานที่ปรากฏในคติความเชื่อและรูปเคารพในท้องถิ่นภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ คำมณี

คำสำคัญ:

พุทธปรัชญามหายาน, คติความเชื่อ, รูปเคารพ, ท้องถิ่นภาคใต้

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทางพุทธปรัชญามหายานที่ปรากฏในคติความเชื่อและรูปเคารพในท้องถิ่นภาคใต้  โดยศึกษาแนวคิดสำคัญทางพุทธปรัชญามหายานแล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อและรูปเคารพในท้องถิ่นภาคใต้  ผลการศึกษาพบแนวคิดสำคัญทางพุทธปรัชญามหายาน 2 ประเด็น คือ  ประเด็นแรกแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า  พบในคติการถวายข้าวพระพุทธ  ประเด็นที่สองการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย 3 องค์ที่ตั้งประดิษฐานในพระอุโบสถ  วิหาร  หรือศาลาการเปรียญ  พบคติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ประเด็นเหล่านี้สอดคล้องกับหลักสำคัญทางพุทธศาสนามหายานที่เชื่อว่า  พระพุทธเจ้ามีพระกาย 3 ภาค  คือ ภาคธรรมกาย  ภาคสัมโภคกาย  แลภาคะนิรมานกาย  ซึ่งพุทธปรัชญามหายานให้ความสำคัญต่อพระพุทธเจ้าภาคธรรมกายสูงสุด  จึงสร้างให้มีขนาดใหญ่หรือประดิษฐานบนฐานบัวโดยสูงกว่าทั้งสององค์  เพราะเชื่อว่าพระพุทธเจ้าภาคธรรมกายนั้นเป็นที่มาของพระพุทธเจ้าภาคสัมโภคกายและภาคนิรมานกาย  ส่วนคติการถวายข้าวพระพุทธเป็นการปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้าภาคธรรมกายและสัมโภคกายอันคงอยู่ชั่วนิรันดร์  ไม่ดับสูญไปพร้อมกับการปรินิพพานเหมือนเช่นพระพุทธเจ้าภาคนิรมานกาย และคติการตั้งพระพุทธรูปปางมารวิชัยหันพระพักตร์ทางทิศตะวันออก  ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนแสดงสักการะสู่ทิศตะวันตก  อันเป็นที่ตั้งของสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธเจ้า  และยังมีแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ที่พบในคติความเชื่อเรื่องสมเด็จหลวงพ่อทวด  ซึ่งสะท้อนจากคำอารธนาบูชาและการสร้างพระเครื่องพระบูชาที่ประดิษฐานบนฐานบัว  ที่มีความสอดคล้องกับคติความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ตามแนวคิดพุทธปรัชญามหายาน  คติดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากการนับถือพุทธศาสนามหายานที่เคยเจริญรุ่งเรืองในยุคอาณาจักรศรีวิชัยที่ผ่านมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31