การสำนึกในถิ่นที่ผ่านกวีนิพนธ์พม่า : สระมรกต
คำสำคัญ:
การสำนึกในถ่ินที่, กวีนิพนธ์พม่า, สระมรกตบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและการสำนึกในถิ่นที่ผ่านกวีนิพนธ์พม่าเรื่อง “สระมรกต” ในด้านการนำเสนอและการประกอบสร้างความหมายผ่านแนวคิดสำนึกในถิ่นที่ (Sense of Place) โดยวิเคราะห์และตีความบนฐานคิดของวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ (Ecocriticism) ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า มีการนำเสนอและการประกอบสร้างความหมายผ่านแนวคิดเชิงนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ ฤดูกาล สถานที่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความศรัทธา ความรัก การเมือง ชาติ ศาสนา โดยมีการนำเสนอผ่านกวีนิพนธ์ 2 ลักษณะ คือ 1. ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการสำนึกในถิ่นที่ 2. ชาติ ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี กับการสำนึกในถิ่นที่