การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง ทรัพยากรธรณี เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สิริวลี มาเนียม
  • ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล

คำสำคัญ:

หน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา, ทักษะการทำงานร่วมกัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ทรัพยากรธรณี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง ทรัพยากรธรณี เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในด้านทักษะการทำงานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง ทรัพยากรธรณี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบประเมินตนเองด้านทักษะการทำงานร่วมกัน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรณี  และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง ทรัพยากรธรณี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ในช่วง .67-1.00 มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในทุกองค์ประกอบ และมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของภาษาและการนำไปใช้อยู่ในช่วง       4.00-5.00 ซึ่งอยู่ในระดับมากขึ้นไป 2) นักเรียนมีทักษะการทำงานร่วมกันหลังการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้     สะเต็มศึกษา ฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3.) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาฯ สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา     มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.16-4.36 ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นที่เห็นด้วยมากในทุกด้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31