พุทธทาสภิกขุ : โลกทัศน์ทางปรัชญากับการศึกษาแบบ ‘หมาหางด้วน’
คำสำคัญ:
ปรัชญา, พุทธทาสภิกขุ, โลกทัศน์บทคัดย่อ
พุทธทาสภิกขุมีปณิธานในการเผยแผ่ศาสนาโดยให้ศาสนิกของ แต่ละศาสนาเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของศาสนาแห่งตน สร้างความเข้าใจใจอันดีระหว่างศาสนา และให้ถอยออกมาจากวัตถุนิยม ท่านมีผลงานเป็นประจักษ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์ฝ่ายทักษิณ” องค์การ UNESCO เห็นว่าท่านมีท่าทีส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมวลมนุษยชาติ จึงยกย่องให้ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านการศึกษา ในกระบวนการเผยแผ่ คำสอนท่านพยายามเข้าถึง “วจนะจากพระโอษฐ์” และนำคำสอนจากต่างลัทธินิกายมาประยุกต์ใช้ กล้าคิดนอกกรอบ เน้นความแปลก ใหม่และทันสมัยตีความคำสอนของพุทธศาสนาให้สำเร็จประโยชน์ใน ชาตินี้ไม่ต้องรอชาติหน้า ไม่สอนโดยเน้นภาษาบาลีและสันสฤต แต่ เลือกใช้ภาษาให้เหมาะกับคนยุคใหม่ ในกรณีที่ขาดแคลน “คำ” ที่จะ ใช้สื่อความหมายท่านสร้างทฤษฎี 2 ภาษา (ภาษาคน – ภาษาธรรม) และสร้าง “พจนานุกรมนอกราชบัณฑิต” ขึ้นใช้เอง ท่านวิพากษ์การศึกษาไทยว่ามุ่งทำตามอย่างตะวันตก คือ มุ่งสร้างแต่ความรู้ โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม โดยอุปมาว่า มุ่งผ่าตัดเท้าคนไทยให้เข้ากับ “เกือกฝรั่ง” แทนที่จะตัดเย็บ “เกือกฝรั่ง” ให้เหมาะกับเท้าคนไทย จึงทำให้เกิดค่านิยม แบบเห็นแก่ตัว ใครมือยาวสาวได้สาวเอา จึงถึงว่าเป็นการศึกษาแบบ “หมาหางด้วน” ท่านจึงเสนอให้ “ต่อหางสุนัข” โดยเพิ่มศีลธรรมเข้าไป ส่วนในหมู่ประชำชน เสนอให้มี “บัตรสะสมความดี” เพื่อนำไปใช้สิทธิ ประโยชน์ตามที่ทางการกำหนด เชื่อว่าถ้าทำได้เช่นนี้ ศีลธรรมก็จะกลับ มาแล้ว “โลกาจะสว่างไสว”