คุณานุประโยคแบบไม่ระบุเจาะจงในตัวบทการออกแบบและตกแต่งภายในซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ:
คุณานุประโยคแบบไม่ระบุเจาะจง, ตัวบทการออกแบบและตกแต่งภายใน, ภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะทางบทคัดย่อ
การศึกษานี้วิเคราะห์ระบบความหมายที่ใช้ในคุณานุประโยคแบบ ไม่ระบุเจาะจง (i.e., I love this wallpaper, which I found online and just couldn’t resist) ในตัวบทการออกแบบและตกแต่งภายใน การศึกษาคุณานุประโยคแบบไม่ระบุเจาะจงก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญ กับตัวบทนิยาย ตัวบทหนังสือพิมพ์ และตัวบทธุรกิจ ดังนั้น การศึกษา นี้จึงสำรวจโครงสร้างไวยากรณ์นี้ในตัวบทการออกแบบและตกแต่ง ภายใน ปัจจุบันนี้หลักสูตรที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้น ๆ (QS university ranking by subjects) แต่ในทางกลับกัน ภาษาอังกฤษ เพื่อสถาปัตยกรรมกลับถูกให้ความสำคัญลดลง (Fidyati & Dafrina, 2017) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย การศึกษานี้จึงศึกษา โครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏบ่อยในหนังสือภาษาอังกฤษของผู้เรียน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (Burton, 2012) คลังข้อมูลในตัวบทการออกแบบและตกแต่งภายในนี้เก็บรวบรวมมาจากหนังสือ ออกแบบและตกแต่งภายในที่มียอดขายสูงเป็นจำนวน 7 เล่ม เป็น จำนวนทั้งสิ้น 200,000 คำ ซึ่งประกอบด้วย 138 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ คุณานุประโยคแบบไม่ระบุเจาะจงแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ยกตัวอย่าง เช่น I love this wallpaper, which I found online and just couldn’t resist ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับที่มาของ วัตถุ การวิเคราะห์ข้อมูลนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในด้าน ภาษาอังกฤษเป็นจำนวน 3 ท่าน ผ่านทางวิธีการหาความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค which ปรากฏเป็นจำนวนสูงสุดคือ ร้อยละ 92.76 ประเภทของ การตีความในคุณานุประโยคแบบไม่ระบุเจาะจงแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ ประวัติและที่มา การแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของ ส่วนประกอบ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับที่มาของวัตถุ การประยุกต์ใช้ เหตุและผล และ การแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล ค่าร้อยละของการตีความเชิงประวัติ และที่มา ปรากฏเป็นจำนวนสูงสุดคือร้อยละ 23.19 การศึกษานี้จะ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง รวมทั้งผู้เรียนด้าน สถาปัตยกรรมในหลักสูตรนานาชาติ ในเชิงการนำเสนอข้อมูลและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับการตกแต่งภายในให้น่าสนใจ เป็นระบบและมี ประสิทธิภาพ