บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการและความคาดหวังของนักศึกษา คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, บทบาท, อาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงและ ตามความคาดหวัง และศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริง กับตามความคาดหวัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่ เป็นจริง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามบทบาทของ อาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามความคาดหวังมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test, F-test และ LSD ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการ ให้คำปรึกษา ด้านความรู้และทักษะของอาจารย์ที่ปรึกษา และด้าน บุคลิกภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา มีความคาดหวังต่อบทบาทของ อาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความรู้และ ทักษะของอาจารย์ที่ปรึกษา และด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา มีความคาดหวังในระดับมาก คือ ด้านการให้คำปรึกษา และจากการเปรียบ เทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงกับตามความคาดหวัง พบว่า นักศึกษา ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้าน วิชาการตามสภาพที่เป็นจริงไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ มีความคาดหวังต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการไม่แตกต่าง กันที่ระดับนัยสำคัญ .05 นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาท ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงแตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญ .05 มีความคาดหวังต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 และจากการเปรียบเทียบความคิดเห็น ของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตาม สภาพที่เป็นจริงกับตามความคาดหวัง พบว่าแตกต่างกันที่ระดับนัย สำคัญ .05