วัสดุในงานศิลปะของแจนนีน แอนโทนี ริชาร์ด เซอร์ร่า และ ลี อูฟาน

ผู้แต่ง

  • สมพร แต้มประสิทธิ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

แจนนีน แอนโที, พื้นที่ว่าง, ริชาร์ เชอร์ร่า, ลี อูฟาน, วัสดุ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาประเด็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับวัสดุ และวัตถุในผลงานของศิลปิน 3 ท่าน ได้แก่ แจนนีน แอนโทนี ในผลงานที่ชื่อ Bridle (ค.ศ. 2000) ริชาร์ด เซอร์ร่า ในผลงานชื่อ T.E.U.C.L.A .(ค.ศ. 2006) และ ลี อูฟาน ในผลงานชื่อ Relatum-Stage (ค.ศ. 2018) โดยมุ่งเน้นประเด็นการใช้วัสดุ และวัตถุในการสร้างสรรค์ ทั้งที่มาจากธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างวัสดุ วัตถุ พื้นที่ว่าง และเวลาเป็นเหตุการณ์ วิธีการศึกษาได้อาศัยแนวคิดเกี่ยวกับวัสดุและวัตถุของนักปรัชญา 3 คน คือ มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ อัลเฟรด นอร์ธ ไวท์เฮ็ด และนิชิดะ คิทาโร เพื่อทำการวิเคราะห์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1)  วัสดุและวัตถุมีคุณค่า และความหมายภายในตามสภาพที่มันเป็น และมีคุณค่าความหมายจากการมีประสบการณ์ร่วมในสังคมผ่านวิถีการดำรงชีวิต 2) วัสดุและวัตถุมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ว่างที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งรูปภายนอกกับภาวะภายใน และ 3) กระบวนการเกิดของวัตถุทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิตอยู่บนกระบวนการเดียวกันที่เป็นขณะหนึ่งของกระบวนการที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง วัตถุต่างๆ รวมถึงมนุษย์จึงมีสถานะที่เท่าเทียมกัน

References

Arts Work. (2021, May 21). ArtsWork Ep 69 Chaiyosh Isavorapant.[Video]. YouTube.

https://www.youtube.com/watch?v=dESvrPmP8oU&t=628s

Charoensri, J. (2016). Science and non-science. Bangkok: Science and non-science: Come in to the outside, go out to the inside. Bangkok: Paragraph Publishing.

Getlein, M., & Howard, A. (2016). Art visionaries. China: Laurence King Publishing Ltd.

Ufan, L. (2011). The Mono-ha: Foreshadowings and premonitions. In Chi, M., & Genocchio, B.

Contemporary Art in Asia (p. 243). Canada: The MIT Press.

Lhaspajchimanandh, S., & Visuddhangkoon, K. (2019). Truly pure experience: The origin of modern Japanese philosophy of Nishida Kitaro. Silpakorn University Journal, 39(2), 31-49. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/184065

Munroe, A. (1994). Japanese’s art after 1945 scream against the sky. New York: Harry N. Abrams.

Princenthal, N. (2001). Art in America Magazine, 9(September), 124-127.

Tewakul, N., (2005). The real life of a human being in heidegger’s view. Humanities Journal, Kasetsart University, 13, 101-113.

Ufan, L. (2018). Lisson Gallery. Retrieved Janurary 1, 2022, from https://www.lissongallery.com/artists/lee-ufan

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30