การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ประภาพร ยางประยงค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • ศศิธร สุวรรณรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ย่านเมืองเก่าสงขลา, ศักยภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา และ 2) วิเคราะห์ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายปิด สถิติในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา จำนวน 13 ราย เลือกแบบเจาะจงเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ผลการศึกษา พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง ( =3.34) และ 2) ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา พบว่า จุดแข็งด้านพื้นที่คือ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านจุดอ่อนคือ การตั้งราคาสินค้าและบริการที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ด้านโอกาสคือ กระแสความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ และด้านอุปสรรค คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว


ค�ำส�ำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ย่านเมืองเก่าสงขลา ศักยภาพ

Cultural Tourism, Potentiality, Songkhla Old Town

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29