การวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานทางจริยธรรมของตำรวจ

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
  • ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การตรวจสอบและควบคุม, กฎหมาย, มาตรฐานทางจริยธรรม, ประมวลจริยธรรม, ตำรวจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการและแนวคิดในการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานทางจริยธรรมของตำารวจในมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวคิดในเรื่องความสำนึกรับผิดชอบด้านหน้าที่ ด้านชดใช้ผลการกระทำ ด้านความโปร่งใส/ตรวจสอบได้ ด้านการควบคุม ด้านการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาของตำรวจประพฤติมิชอบในระดับบุคคลและหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก และด้านความสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมในกฏหมายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฏหมายในประเทศดังกล่าวมีความเหมือนกันบางประการ ดังนี้  1) แนวคิดและหลักการของมาตรฐานทางจริยธรรมเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย และมุ่งที่ผลประโยชน์ของส่วนรวม 2) เนื้อหาของมาตรฐานทางจริยธรรมประมวลจริยธรรม และกฎหมายพื้นฐาน กล่าวถึงกรอบของพฤติกรรมจริยธรรมที่ดีของเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจ 3) กลไกการกำกับดูแลมาตรฐานทางจริยธรรม มีระบบความสำนึกรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา และการกำกับดูแลจากภายนอกองค์กร 4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทำการร้องทุกข์ร้องเรียนได้ และ 5) ผู้ละเมิดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมหรือประมวลจริยธรรมจะได้รับโทษทางวินัยแต่ไม่รุนแรง และพบว่ามาตรการทางกฎหมายมีความแตกต่างกันบางประการ ได้แก่ 1) องค์ประกอบในประมวลจริยธรรมของประเทศอังกฤษและเวลส์ มีความครอบคลุมมากที่สุด 2) การรายงานการกระทำความผิดของตนเอง ปรากฎเฉพาะในประมวลจริยธรรมของประเทศอังกฤษและเวลส์ 3) ประเทศไทยไม่มีคณะกรรมการฝ่ายพลเรือนในการทบทวนและตรวจสอบตำรวจ และ 4) กฎหมายพื้นฐานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีบัญญัติให้หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเมิดหน้าที่ราชการร่วมรับผิดด้วย ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรทบทวนและปรับปรุงองค์ประกอบและเนื้อหาในประมวลจริยธรรม รวมถึงการบังคับใช้กฏหมาย การกำหนดบทลงโทษ และผู้รับผิดจากการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม

References

Aepli, P. (ed.). (2019). Toolkit on Police Integrity (DCAF – Geneva Centre for Security Sector Governance. Retrieved October 18, 2021, from https://www.dcaf.ch/sites/default/files/ publications/documents/DCAF_PIBP_Toolkit_ENG_2019_web

College of Policing. (2014). Code of ethics: A code of practice for the principles and standards of professional behaviour for the policing profession of England and Wales. Presented to parliament pursuant to section 39A (5) of the police act 1996 amended by section 124 of the anti-social behaviour, Crime and policing Act 2014. Retrieved October 18, 2021, from https://assets.publishing.service.gov.uk/

Daddey, F., Keenan, G., & Bowles, R. (2018). Police integrity: The unwillingness to report Misconduct: Final report bachelor of law enforcement studies LAWS-4003 research project justice institute of British Columbia Florence. Retrieved April 9, 2018, from https://core.ac.uk

Hartmut, A. (2017). Germany. In Aguja, M.J., & Born, H. (Eds.), The Role of Parliament in Police Governance. Retrieved October 18, 2021, from https://www.hwr-berlin.de/fileadmin/ portal/Dokumente/Prof-Seiten/Aden/79-2017-Role-Parliament-Police-Governance-Lessons-Learned-from-Asia-Europe-Geneva_The_Geneva_Centre_for_the_Democratic_Control_of_Armed_Forces.pdf

House of Lords. (2020). Policing in the UK: Governance, oversight and complaints. Retrieved October 18, 2021, from https://researchbriefings.files.parliament.uk/documents/LLN-2020-0013/LLN-2020-0013

Kagin, V. (2011). Peer reporting of unethical police behaviour. Retrieved October 18, 2021, from https://www.academia.edu/36249033/Peer_Reporting_of_Unethical_Police_Behavior

Koppell, J.G. (2005). Pathologies of accountability: ICANN and the challenge of “Multiple accountabilities disorder”. Public Administration Review, 65(1), 94 -108. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/j.1540-6210.2005.00434

McCartney, S., & Parent, R. (2015). Ethics in law enforcement. Retrieved October 18, 2021, from http://opentextbc.ca/ethicsinlawenforcement/

Muggah, R., & de Boer, J. (2019). Security sector reform and citizen security: Experiences from urban Latin America in global perspective. Retrieved October 18, 2021, from https://library.oapen.org/bitstream/handle/20.500.12657/22990

Narongsak, A., Piam-waree, P., & Jit-swang, S. (2013). Ethics of the police (Research report). Bangkok: Mahidol University. Retrieved October 18, 2021, from http://nhrc.or.th

National Police Agency. (2020). Police of Japan 2019. Retrieved October 18, 2021, from http://www.npa.go.jp/english/Police_of_Japan

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2021). Announcement of the NACC office

on integrity and transparency assessment (ITA) results of the fiscal year 2020. Retrieved

October 18, 2021, from htpp://www.nacc.go.th

Pagon, M. (2000). Police ethics and integrity. In Pagon, M., (Ed.), Policing in central and eastern Europe: Ethics, integrity and human rights. Retrieved October 18, 2021, from https://www.scribd.com/document/414829106

Police Reform Act. (2002). Chapter 30. The Stationery Office. Retrieved October 18, 2021, from https://www. legislation.gov.uk/ukpga/2002/30/pdfs/ukpga_20020030_en

Policing and Crime Act. (2017). Retrieved October 18, 2021, from https://www. legislation.gov. uk/ukpga/2017/3/pdfs/ukpga_20170003_en

The royal Thai police fired 200 out-of-the-line police. (2021, September 27) Thansettakij. Retrieved October 18, 2021, from htpp://www.thansettakij.com/politics/497486

The Stationery Office. (2002). Police reform act 2002 chapter 30. Retrieved October 18, 2021, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2002/30/pdfs/ukpga_20020030_en

The Stationery Office. (2017). Policing and crime act 2017 chapter 3. Retrieved October 18, 2021, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2017/3/pdfs/ukpga_20170003_en

Varghese, J. (2010). Police structure: A comparative study of policing models. Retrieved October 18, 2021, from http://ssrn.com/abstract=1605290

Walker, S. (2006, November). Police accountability: Current issues and research needs [Paper

resentation]. The National Institute of Justice (NIJ) Policing Research Workshop: Planning for the Future, Washington, D.C., United States of America. Retrieved October 18, 2021, from https://www.ojp.gov/pdffiles1/nij/grants/218583

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29