การเพิ่มผลิตภาพของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พินิจ แกล้วเกษตรกรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ภาคกลางของประเทศไทย, ผลิตภาพการผลิต, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหา ความสามารถในการแข่งขันสภาพการแข่งขัน และผลิตภาพการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2) เปรียบเทียบผลิตภาพการผลิตแยกตามคุณลักษณะของอุตสาหกรรม 3) ศึกษาปัจจัยการผลิตและการจัดการการผลิตที่ส่งผลต่อผลิตภาพการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มผลิตภาพการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางจำนวน 316 โรงงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียววิเคราะห์การถดถอยเชิงพหคุณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตภาคกลางของประเทศไทยมีปัญหาในการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้รับผลกระทบด้านราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ขาดแคลนแรงงานประเภทมีทักษะฝีมือ ความสามารถในการแข่งขันมุ่งเน้นในเรื่องของการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และลดต้นทุนการผลิตเพื่อรองรับกับต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น พยายามพ่วงกิจการให้อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อความยั่งยืน สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมมุ่งเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งลูกค้าและผู้จัดหาวัตถุดิบมีผลิตภาพแรงงานที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าผลิตภาพแรงงานที่คาดหวัง ผลการเปรียบเทียบพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะของสินค้าที่ผลิต ระยะเวลาในการดำเนินงาน จำนวนพนักงาน และทุนจดทะเบียนต่างกันมีผลิตภาพการผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการผลิต ได้แก่ ระบบการลดความสูญเปล่าสภาพแวดล้อมที่ทำงาน วัตถุดิบ เครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์ ระบบการจัดการคุณภาพ และพนักงาน แนวทางเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตมี 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจและการผลิต 2) การพัฒนาคุณภาพของปัจจัยการผลิต และ 3) การพัฒนาคุณภาพการจัดการการผลิต

References

Chalermngam, C. (2011). Machine improving efficiency in OD polishing process of Seiko instrument (Thailand) company limited. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Department of Industrial Promotion. (2018). Electrical and electronic. Retrieved July 10, 2020, from http://strategy.dip.go.th/industry information/electrical and electronic/tabid/93/ Default.aspx

Electrical and Electronics Institute. (2019). Annual report of the institute of electrical and electronics. Bangkok: Electrical and Electronics Institute.

Jensen, C. (1996). Delphi in depth: Power techniques from the experts Berkeley. Singapore: McGraw-Hill.

Heize, J, & Render, B. (2011). Operation management (6th ed.). Wilmington: Prentice Hall International, Inc.

Kainunsingh, A. (2008). Increasing productivity of head stack assembly line in hard disk drive manufacturing. Bangkok: Chulalongkorn University.

Klomjit, P. (2014). Industrial plant design for safety and productivity. Bangkok: Silpakorn University.

Kongtongvattana, S., & Vuthimedhi, Y. (2015). A management efficiency prototype of electrical and electronics parts industries in Thailand. Journal of Science and Technology. 4(4) 132-139.

Korkueasuebsai, O. (2017). A study of factors and effects of industry 4.0 policy on Thai electronics industry. Bangkok: Silpakorn University.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Office of Industrial Economics. (2018). Industrial economic report office of industrial economics. Bangkok: Ministry of Industry.

Poonnarong, T. (2019). Improve productivity and quality with the principles of cause and effect diagram, 5S and staff training, Case study: Greenspot Co., Ltd. Pathumthani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Prasoprat, A. (2017). The development of Thai labor productivity to achieve sustainable employment standards. Bangkok: Thailand National Defense College.

Sripairoj, W. (2015). Improvement of process and operator head count of production line for reducing labor cost. Bangkok: Thammasat University.

Sukcharounpong, P. (2002). Production engineering management. Bangkok: SE-ED Publisher.

Sukwattanakul, K. (2008). Study and design of dimming electronics ballast by computer. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Thweesak, T. (2007). Logistics and supply chain management. Bangkok: Expernet.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29