การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนใน "มั๋วเต้าจู่ซือ" กับฉบับแปลภาษาไทย "ปรมาจารย์ลัทธิมาร"

ผู้แต่ง

  • ศญาดา เลอวลัญช์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การแปล, ปรมาจารย์ลัทธิมาร, มั๋วเต้าจู่ซือ, สำนวนจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรกศึกษาลักษณะโครงสร้างทางภาษาและเจตนาของการใช้ ความหมายของสำนวนจีนในมั่วเต้าจู่ซือ ประการที่สองศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนที่ปรากฎในมั่วเต้าจู๋ซื่อ กับฉบับแปลภาษาไทยปรมาจารย์ลัทธิมาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมสำนวนจีน จากหนังสือมั่วเต้าจู่ซือ เล่มที่ 1 จำนวน 332 สำนวน และหนังสือปรมาจารย์ลัทธิมาร เล่มที่ 1 จำนวน 13 สำนวน แล้ววิเคราะห์โครงสร้างทางภาษาและเจตนาของการใช้ความหมายในสำนวนจีนที่ปรากฏ หลังจากนั้นนำสำนวน จีนที่ปรากฎในหนังสือทั้งสองฉบับมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลวิจัยพบว่าโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสำนวนจีน ในมั่วเต้าจู๋ชื่อสามารถแบ่งเป็น 7 ประเภทหลัก ได้แก่ โครงสร้างภาคประธาน-ภาคแสดง โครงสร้างกริยา-กรรม โครงสร้างคำสองหน้าที่ โครงสร้างคู่ขนาน โครงสร้างหน่วยหลัก-หน่วยขยาย โครงสร้างกริยาเรียง และโครงสร้าง ประโยคเชิงช้อนต่างระดับ เจตนาของการใช้ความหมายในมั่วเต้าจู๋ซื่อสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ สำนวน จีนชนิดบอกเจตนาตักเตือน สำนวนจีนชนิดบอกเจตนากล่าวประชดประชัน สำนวนจีนชนิดบอกเจตนาตำหนิ สำนวนจีนชนิดบอกเจตนาชื่นชม และสำนวนจีนชนิดบอกเจตนาแสดงความเห็น ซึ่งการแปลสำนวนเหล่านี้ใน ปรมาจารย์ลัทธิมารสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือสำนวนที่แปล สำนวนที่ไม่แปล และสำนวนไทยที่แปลมา จากข้อความที่ไม่ใช่สำนวนจีน สำนวนที่แปลสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ การแปลแบบถอดความ การแปลแบบนำสำนวนไทยมาเทียบเคียง และการแปลแบบเอาเนื้อความอื่นมาแทน

References

Bai, H. (2021). Study of literary identity of the internet novel “The Untamed”. Retrieved August 16, 2021, from https://www.cnki.com.cn/Article/CJFDTotal-HNSY202104014.htm

Bilibili. (2020). Elements of Chinese traditional culture in the animation of “The Untamed”. Retrieved November 2, 2021, from https://www.bilibili.com/read/cv8672502

Chaiwongsa, W., Sakulsueb, P., & Sakulsueb, T. (2021). Hero analysis with Christopher Vogler’s concept: Weiwuxian, from “The Untamed” series. Mangrai Saan Journal, 9(1), 1-18. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/249358

Denvipailerdlam, U. (2005). A Comparative study of Chinese and Thai idiomatic expressions on silver, gold and valuable objects (Master of Arts Programin Chinese). Chulalongkorn University.

Halipun, P. (2013). The study of a comparative the same meaning of proverb-saying. Retrieved September 20, 2021, from http://ubulachinese.blogspot. com/ 2013/03/blog-post_ 4304. html

Jitchinakul, K., & Horpianjaroen, S. (2017). The study of Thai-Chinese proverbs in current social life context (Research Report). Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.

Kongmanusorn, W. (2006). Know all Thai idioms. Bangkok: Aksorn Charoen Tat.

Kongprom, P. (2020). Analysis of the costume designs from the “The Untamed” series (Bachelor of Arts Program in Asian Studies). Silpakorn University.

Li, M. (2019). A Contrastive study of Chinese and Thai color idioms (Master of Arts Program in Thai). Chiangmai Rajabhat University.

Rattanawan, T., & Maetaveevinit, W. (2021). An influence of popular culture through soft power in Chinese Period series. Retrieved December 6, 2021, from https://www.citu.tu.ac.th/wp-content/uploads/2021/07/Conference ReportNo10_20210928.pdf

Sawatyothin, S. (2019). Thai and Chinese prover with the word “snake”. Journal of Language, Religion and Culture, 8(2), 100-125.

Snowblack. (2019). “Buphaphonniwat” won the best Thai novel of the year award. Retrieved July 20, 2022, from https://praew.com/people/284218.html

Sripanngoen, S. (2000). A comparative study of Chinese idiomatic expressions containing the word “xin” with their Thai equivalents (Master of Arts Program in Chinese). Chulalongkorn University.

Wan, Y. (2000). Chinese vocabulary tutorial. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.

Wanichviriya, J., & Thongaime, A. (2020). Chinese expressions: Purposes of usage. Suthiparithat Journal, 34(110), 227-240.

Wanmeilunwenwang. (2019). A Study on the narrative ethics of “The Untamed”. Retrieved October 27, 2021, from http://www.wmlunwen.com/yishulunwen/201912179154.html

Wu, J. (2020). On the artistic charm of the internet novel “The Untamed”. Retrieved October 29, 2021, from http://a.shayumei chuang.com/index.php?c=show&id=341

Zhongguo Shehui Kexueyuan Yuyan Yanjiusuo (Institute of Language, Chinese Academy of Social Sciences). (2006). Modern Chinese dictionary. Beijing: Commercial Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22