การประพันธ์เพลง "นอนนะนุ้ยนอน" สำหรับวงขับร้องประสานเสียง

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ฉิมหนู คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ขับร้องประสานเสียง, ดนตรี, นอนนะนุ้ยนอน, ประพันธ์เพลง, เพลงกล่อมเด็กภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สู่การขับร้อง ประสานเสียง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและอธิบายการประพันธ์เพลง "นอนนะนุ้ยนอน" สำหรับวงขับร้อง ประสานเสียง (Choral Music) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลง "ไปคอนเหอ " เพลงกล่อมเต็กภาคใต้ของ นางจิตร ทิพย์กองลาส (แม่เพลง) อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ประพันธ์ทำนองและคำร้องใหม่สำหรับ วงขับร้องประสานเสียง ร้องด้วยภาษาถิ่นใต้สำเนียงจังหวัดนครศรีธรรมราช รูปแบบดนตรีผู้ประพันธ์ใช้หลักการ ประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Popular Music มีอัตราความเร็วตัวดำเท่ากับ 70 (70 Bpm) อยู่ในบันไดเสียง G เมเจอร์ ใช้กีตาร์โปร่ง (Acoustic Guitar) เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ เพลงนอนนะนุ้ยนอนมีเอกลักษณ์แบบเพลง เพื่อชีวิตปักษ์ใต้ เนื้อหาคำร้องเกี่ยวกับการชมเมืองนครศรีธรรมราช เช่น วัดพระธาตุ ล่องเรือปากพนัง การเลี้ยงลูก วิถีชีวิตพื้นบ้าน เป็นต้น การประพันธ์ครั้งนี้ขึ้นต้นประโยคว่า "นอนนะนุ้ยนอน" และลงท้ายประโยคด้วยคำว่า "เหอ" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ขั้นคู่ที่เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นขั้นคู่เสียงกลมกล่อม มีทางเดินคอร์ด (Chord Progression) แบบ I-Vi-V-เ เพลงนอนนะนุ้ยนอนมีความยาวโดยประมาณ 3.79 นาที ผู้ประพันธ์นำเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มาสืบสานต่อยอดให้สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้มากขึ้นพร้อมทั้งถ่ายทอดจิตวิญญาณของ บรรพบุรุษแก่ชนรุ่นหลังและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

References

Damsi, V. (2011). Southern lullabies: Analytical study on case study of Nakhon Si Thammarat. Nakhon Si Thammarat: Culture Centre of Rajabhat Nakhon Si Thammarat University Press.

Eiamsa-ard, Y. (2012). The analysis studied violin solo of lao-pan song by Prof.Dr. Kovith Kantasiri (Master of Fine Arts degree in Ethnomusicology). Srinakarinwirot University. http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1356/1/Yongyuth_E.pdf

Makkanjanakul, P. (1988). Music composition. Bangkok: Hansa Press.

Mookdamuang, A. (2018). Science and art of musical composition. Fine Arts Journal Srinakharinwirot University, 22(2), 50-61.

Sotiyanurak, N. (2005). Four-part harmony. Bangkok: Chula Press.

Tipkonglard, J. (2022, 8 February). Local female singer. Interview.

Tramod, M. (1997). The academic of Thai music. Bangkok: Pikkanet Prinding Center.

Tyler, R.W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago.

Woramitmaitre, N. (2020). Choral and orchestral arrangements for “Luk Thung Esan Chorus with Orchestral Accompaniment”: Sai Wa Si Bo Thim Kan. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 45(2), 25-42.

Yuden, W. (1982). The southern Thai lullaby. Bangkok: Thai Watana Panich Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07