ร้านค้าริมทางชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: จากผลกระทบความเป็นเมืองสู่วิถีถัดไป

ผู้แต่ง

  • ชนาใจ หมื่นไธสง คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ภัทรพร วีระนาคินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธิดารัตน์ สาระพล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของร้านค้าริมทางของชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยเอ็ดที่มีต่อการกลายเป็นเมืองและการเข้าสู่วิถีถัดไป ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่โดยวิธี เจาะจง โดยเลือกร้านค้าริมทางที่อยู่รอบข้างมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดที่ตั้งอยู่เขตตำบลเกาะแก้ว ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 9 คน คัดเลือกจากผู้ประกอบการ ผู้บริโภค นักพัฒนาพื้นที่ นักวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ เชิงพรรณนาและการตีความ ผลการวิจัยพบว่าความเป็นเมืองได้เริ่มเข้ามาในชุมชนหลังการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด และเติบโตแบบก้าวกระโดดในด้านกายภาพหลังช่วงปี พ.ศ. 2553 ส่งผลให้วิถีชุมชนมีการปรับเปลี่ยน ไปในลักษณะสังคมเมืองและเกิดร้านค้าริมทางมากขึ้น สถานการณ์โควิด - 19 ทำให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการ ร้านค้าริมทาง ผู้ประกอบการย้ายกลับภูมิลำเนา และคนภายนอกพื้นที่ที่คันหาพื้นที่ใหม่ในการประกอบอาชีพ ผลกระทบนี้เกี่ยวพันกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ พฤติกรรมของผู้ซื้อผู้ขายปรับเปลี่ยน สู่การพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น มีการซื้อขายออนไลน์ผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มส่งอาหาร ร้นค้าริมทางจึงต้องปรับตัวในด้านแผนธุรกิจกำหนดราคาที่สมเหตุสมผล เน้นกระบวนการแปรรูปรวดเร็ว รับประทาน สะดวกและง่ย นอกจากนี้ ผู้นำชุมชนและองค์กรท้องถิ่นมีบทบาทด้านการบริหารจัดการ เช่น การจัดการพื้นที่ ร้านค้า ภูมิทัศน์ การดูแลด้านสุขภาวะชุมชน การจัดระเบียบความปลอดภัยของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

References

A1 (pseudonym). (2022, 23 February). Village health volunteer. Interview.

A2 (pseudonym). (2022, 22 February). Village health volunteer. Interview.

A3 (pseudonym). (2022, 10 April). Village health volunteer. Interview.

A4 (pseudonym). (2022, 30 March). Academic. Interview.

A5 (pseudonym). (2022, 2 July). Academic. Interview.

A6 (pseudonym). (2022, 6 July). Academic. Interview.

A7 (pseudonym). (2022, 6 July). Academic. Interview.

A9 (pseudonym). (2022, 28 February). Entrepreneur. Interview.

Alfiero, S., Giudice, A.L., & Bonadonna, A. (2017). Street food and innovation: The food truck phenomenon. British Food Journal, 119(11), 2462 - 2476. https://doi.org/10.1108/BFJ03-2017-0179

B4 (pseudonym). (2022, 18 April). Street vendor. Interview.

Bhowmik, S.K. (2005). Street vendors in Asia: A review. Economic and Political Weekly, 40(22), 2256 - 2264.

Bromley, R. (2000). Street vending and public policy: A global review. International Journal of Sociology and Social Policy, 20(1/2), 1 - 28. https://doi.org/10.1108/01443330010789052

Google Maps. (n.d.). Roi Et Rajabhat University location. Retrieved October 3, 2022, from https://goo.gl/maps/9Zxeh63cZwaAfyPN9

Muneewong, P. (2020). Expectation and satisfaction of Thai tourists towards street food buying decision in Bangkok (Master of Arts Program in Tourism Management). Dhurakij Pundit University.

Nirathron, N. (2006). Fighting poverty from the street: A survey of street in Bangkok. International Labour Office. Retrieved August 10, 2022, from http://ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_bk_pb_128_en.pdf

Nirathron, N. (2017). Administration of street vending in Thailand: The situation and policy recommendations (Research report). Bangkok: Faculty of Social Administration, Thammasat University.

Office of Academic Affairs and Registration, Roi Et Rajabhat University. (2022). Statistic of students. Retrieved August 1, 2022. From https://academic.reru.ac.th/2020/

Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2021). White paper on MSME 2021. Bangkok: OSMEP.

Personnel Division, Office of the President, Roi Et Rajabhat University. (2022). Personnel database. Retrieved August 1, 2022, from https://personnel.reru.ac.th/information-system/

Roi Et Rajabhat University. (2021). History of Roi Et Rajabhat University, Retrieved August 1, 2022, from https://www.reru.ac.th/abouts/79/

Sapcharoen, P. (2010). Urban sociology (2nd ed.). Bangkok: Ramkhamhang University Press.

te Lintelo, D.J.H. (2017). Enrolling a goddess for Delhi’s street vendors: The micro - politics of policy implementation shaping urban (in)formality. Geoforum, 84, 77 - 87. https://doi.org/10.1016/j.geoforum.2017.06.005

Thongyou, M., Sosamphanh, B., & Phongsiri, M. (2013). Impacts of urbanization on hinterlands and local response in the Mekong region: A case study of Khon Kaen, Thailand and Vang Vieng, Lao PDR (Research report). Khon Kaen: Center for Research on Plurality in

Mekong Region, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.

Wijit, I. (2016). Communications of identities to promote the tourism of Buriram Province (Master of Arts Program in Mass Communication). Thammasat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22