การศึกษาวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ตั้งชื่อร้านค้าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • นควัฒน์ สาเระ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

คนไทยเชื้อสายจีน, คนมลายูมุสลิม, จังหวัดชายแดนใต้, ชื่อร้านค้า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาที่ใช้ตั้งชื่อร้านค้าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านค้าในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลเมืองยะลา และ เทศบาลเมืองนราธิวาส ผู้วิจัยรวบรวมชื่อร้านค้าทั้งสิ้น 288 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อร้านค้าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาจีนใช้ตั้งชื่อร้านค้าของคนไทยเชื้อสายจีนด้วยการทับศัพท์ และการประสมทับศัพท์ ภาษาไทยใช้ตั้งชื่อร้านค้าของคนไทยด้วยการใช้คำเดี่ยวและการประสมคำ และภาษามลายู ใช้ตั้งชื่อร้านค้าของคนมลายูมุสลิมด้วยการทับศัพท์และการประสมทับศัพท์ ส่วนการจำแนกช่วงเวลาของภาษา ที่ใช้ตั้งชื่อร้านค้าพบว่า ในช่วง 100 ปี (พ.ศ. 2446 - 2456) มีชื่อร้านค้าภาษาจีนเกิดขึ้นครั้งแรก ในช่วง 50 ปี (พ.ศ. 2479 - 2489) มีชื่อร้านค้าภาษาไทยเกิดขึ้นครั้งแรก และในช่วง 40 ปี (พ.ศ. 2501 - 2512) มีชื่อร้านค้า ภาษามลายูเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อเปรียบเทียบภาษาที่ใช้ตั้งชื่อร้นค้าพบว่า ภาษาไทยมีความถี่สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 53.13 รองลงมาคือ ภาษามลายู คิดเป็นร้อยละ 37.15 และภาษาจีน คิดเป็นร้อยละ 9.72

References

Bougas, W.A. (1994). The Kingdom of Patani: Between Thai and Malay Mandalas. Selangor: Institut Alam dan Tamadun Melayu.

Chongbanchop, W. (1991). A study of language use in language use in naming business enterprises (Master of Art). Thammasat University.

Document Processing and Archives Committee. (2000). Culture, historica development, identity and wisdom of Pattani Province. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Kaseng, A. (2001). Arabic loanwords in Pattani Malay (Master of Art). Chulalongkorn University.

Maluleem, J. (1998). West Asian studies: An overview of social sciences and humanities. Bangkok: Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University.

Moonsawat, C. (1997). Language of persons’ names in Lanna: Chiang Rai Province (Master of Art). Mahidol University.

Sareh, N. (2007). Naming of stores in Pattani: Relationship between store names and the ways of life in the community (Master of Art). Chulalongkorn University.

Sareh, N. (2012). Naming of stores in Pattani Province, Yala Province, and Narathiwa Province: Relationship between store names and the ways of life in the commerce. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.

Sawangtrakul, W. (1997). The study of language in naming of Thai people in Bangkok (Master of Art). Thammasat University.

Siriwatananawin, W. (2001). The study of Thai’s name (Master of Art). Silpakorn University.

Sodsongkrit, M. (2012). A survey and analysis of the trade name in Chinese Thais merchant shops and stores in Muang District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, 8(2), 59 - 89.

Sukhkasame, R. (2001). Language use in naming business enterprises in Hatyai metropolitan municipality, Hatyai District, Songkhla Province (Master of Art). Thaksin University.

Sumniengngam, S. (2002). Linguistic characteristics indicating change in the belief in auspiciousness and inauspiciousness in Thai names (Doctoral of Art). Chulalongkorn University.

Thammachoto, J. (1997). The study of language in nicknaming of Thai people in Mueng District, Trang Province (Master of Art). Thammasat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21