การเล่าเรื่องและการสะท้อนสังคมไทยในซีรีส์ชุด Not Me... เขาไม่ใช่ผม

ผู้แต่ง

  • ปรัชนันท์ จิรเดชสนธิวงศ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่อง, การสะท้อนสังคม, ซีรีส์, สัญญะวิทยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การเล่าเรื่องในชีรีส์ชุด Not Me...เขาไมใช่ผม และ 2) วิเคราะห์การสะท้อนสังคมไทยในชีรีส์ชุด Not Me... เขาไมใช่ผม งานวิจัยนี้ช้ระเบียบวิจัย แบบวิเคราะห์ตัวบท ตามแนวคิดการเล่าเรื่อง ทฤษฎีสัญญะวิทยา ทฤษฎีการประกอบสร้างความเป็นจริง และ แนวคิดการสะท้อนสังคม โดยเครื่องมือที่นำมาศึกษาได้แก่ ชีรีส์ชุด Not Me...เขาไมใช่ผม จำนวน 14 ตอน ออกอากาศทางช่อง GMM 25 ในปี พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่า การเล่าเรื่องในชีรีส์ชุด Not Me...เขาไมใช่ผม ในแต่ละตอนมีโครงสร้างการเล่าเรื่องซึ่งประกอบด้วยโครงเรื่อง 5 ขั้นตอนคือ การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลาย และการยุติเรื่องราว แก่นเรื่องเป็นแนวเดียวกันในทุกตอนที่เกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อ ความเป็นธรรม มุมมองในการเล่าเรื่องมาจากจุดยืนของบุคคลที่หนึ่ง ความขัดแย้งหลักในเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้ง ระหว่างบุคคล และความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร ลักษณะตัวละครมีความหลากหลายในมิติที่ผู้ชมคาดเดา ความคิดและพฤติกรรมได้ยาก ฉากเป็นสิ่งประดิษฐ์ เพื่อแสดงถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร การใช้สัญลักษณ์ ในรูปแบบทางภาพมีความหมายแฝงเชื่อมโยงกับแก่นเรื่อง การสะท้อนสังคมไทยผ่านปัญหาสังคมที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ความยากจน การว่างงาน และความไร้ระเบียบวินัยของคนในสังคมไทย ผลจากการศึกษาได้เรียนรู้สภาพปัญหาวิธีการเอาตัวรอดในสังคม สื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวทางสังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นจริงในเหตุการณ์ปัจจุบัน

References

AIS Play. (2021). Not Me. Retrieved May 18, 2022, from https://aisplay.ais.co.th/portal/serial/series/61b32d68e44eab1c22b10384

Chakkaphark, R., & Sinthuphan, J. (2002). Social imagination and narrative scheme in the films of satyajit ray: An analytical study (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University.

Chanpaiboon, U. (2018). Social problems. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Choowong, A. (n.d.). Social problems: Type, theory, and study. Retrieved May 18, 2023, from http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/512904199477292158384c5c996c8ecd

Congratulations on the GMMTV series nominees to “ContentAsia Awards 2022”. (2022). GMMTV. Retrieved May 15, 2023, from https://twitter.com/GMMTV/status/1558119853407739905

Jinmei, H. (2022). Reflections of urban society in tv series sitcoms “the gentleman at the end of the alley” 2018-2020 (Master of Arts of Communicative Thai as a Second Language).

Huachiew Chalermprakiet University. http://hcuir.lib.hcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/765

Kaewthep, K. (2009). Media analysis: Thought and technique. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center.

Noopinit, N. (2008). Film and identity: A social construction of southern Thailand (Master of Arts Program in Mass Communication). Thammasat University. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/263549

Pattranon-Utai, S. (2018). Study of the relationship between the cartoon named Let’s go and Tamiya mini 4wd players (Master of Arts of Management of Cultural Heritage and Creative Industries). Thammasat University. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6023110072_8111_9895.pdf

Pithakwong, K., & Chermanchonlamark, C. (2021). The analysis of TV dramas with corruption and ‘hug detective’ TV drama script writing. Journal of Communication Arts Review, 25(3), 54 - 64.

Rattanapan, P., Thongdee, W., Marasri S., & Prajantasen, K. (n.d.). Chapter 8 analyzing social problems and solutions with peaceful means. Retrieved June 11, 2023, from https://acd.mcu.ac.th/wp-content/plugins/download-attachments/includes/download.php?id=1649

Review1. (2022). Series review “Not Me”. Retrieved May 15, 2023, from https://reviewsnung.com/archives/5454

Sena, P., & Chermanchonlamark, C. (2021). Narrative and reflection on society in Thai films to be nominated for an Oscar awards of the year 2010 - 2019. Journal of Communication Arts Review, 25(1), 110 - 128.

Srijankham, H. (2015). Romantic love in Thai ghost films (Master of Arts Program in Mass Communication). Thammasat University. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5507030392_3052_1874.pdf

Tailanga, I. (2003). Science and art of narration. Bangkok: Kasetsart University Book Center.

The TV series “Not Me” wins 3 awards of the year. (2022). ThaiPost. Retrieved May 15, 2023, from https://www.thaipost.net/entertainment-news/275458

Thinwattanakoon, T., Viriyakraikul, S., & Sabuisuk, N. (2022). Storytelling in communication arts: A case study from research. Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University, 6(2), 16 - 28.

Tippiman, C. (1996). An analysis of narrative structure in America women’s film (Master of Arts in Mass Communication). Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7355

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21