พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลยุคพลิกผันของผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุทิศ บำรุงชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พักตร์วิภา โพธิ์ศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มงคล ยังทนุรัตน์ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรม, พลเมืองดิจิทัล, ยุคพลิกผัน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดิจิทัลยุคพลิกผันของผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลยุคพลิกผันของผู้สูงอายุในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีรายชื่อในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั่วประเทศ 84 แห่ง จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modifed Priority Needs Index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรม ปัจจุบันผู้สูงอายุยุคพลิกผันนั้นใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนมากที่สุดร้อยละ 96.90 การเข้าถึงสื่อดิจิทัลจาก สมาร์ตโฟนโดยใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว ร้อยละ 93.50 สภาพการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละวัน 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 27.40 วัตถุประสงค์ในการใช้ คือ สื่อสารด้วยการสนทนากับเพื่อนและครอบครัว ร้อยละ 85.30 สื่อสังคม ใช้มากที่สุด คือไลน์แอปพลิเคชัน ร้อยละ 78.60 สภาพปัญหาการใช้มากที่สุด คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตมีความล่าช้า ร้อยล่ะ 52.50 และผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัญหาการใช้เทคโนโล่ยีดิจิทัลในยุคพลิกผัน คือ ขนาดตัวอักษรเมนูบน อุปกรณ์ ความไม่มั่นใจในความปลอดภัยต่อการใช้งาน ข่าวปลอม การหลอกล่วงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และโฆษณา รบกวน อิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ ครอบครัวลูกหลาน เพื่อน แพคเกจชั่วโมงอินเทอร์เน็ต และความ ยากง่ายในการใช้ ประเด็นการสื่อสารมากที่สุดคือ สุขภาพ 2) ความต้องการจำเป็นของผู้สูงอายุต่อการพัฒนา ความเป็นพลเมืองดิจิทัลในยุคพลิกผันพบว่า ความต้องการจำเป็นในการให้ครอบครัว ชุมชน มีการสื่อสารและบันทึก เรื่องเล่าบนสื่อออนไลน์ มีค่า (PNI Modified= 2.30) รองลงมาคือ ความรู้ความสามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือดิจิทัลเพื่อ อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันหรือช่วยในการแก้ปัญหา (PNI Modified = 1.87) และลำดับสามคือ จัดการกับ ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงหรือตรวจสอบข้อมูลที่เป็นข่าวปลอมก่อนเชื่อและแชร์ต่อ (PNI Modified=1.77)

References

Areekul, C. (2020). Education and lifelong learning: Concepts, principles and essentials. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Bandura, A., & Walters, R.H. (1963). Social learning and personality development. Holt Rinehart and Winston: New York.

Bernabé-Valero, G., Iborra-Marmolejo, I., Beneyto-Arrojo, M. J., & Senent-Capuz, N. (2018). The moderating role of intellectual humility in the adoption of ICT: A study across life-span. Frontiers in Psychology, 9, 2433. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.02433

CEDARAFRICA. (2022). Steps to implementing culture change in an agile/VUCA world. Retrieved January 2, 2022, from https://cedarafricagroup.com/culture-change-in-an-agile-world/

Chotjirawatthana, S., Tantrarungroj, P., & Suwanmonkma, S. (2020). The needs assessment of information and communication technology to support health literacy in the learning center for the elderly in Bangkok and its vicinities. Library Science SWU Journal, 12(2), 71 - 85.

Department of Older Persons. (2021). Register of elderly schools. Retrieved November 25, 2021, from https://www.dop.go.th/thai/service_information/1/14

Department of Older Persons. (2022). Elderly statistics. Retrieved January 25, 2023, from https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962

Electronic Transactions Development Agency. (2019). Thailand internet user behavior 2019. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society.

Electronic Transactions Development Agency. (2022). Thailand internet user behavior 2022. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the Thai elderly 2018. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2021). Situation of the Thai elderly 2021. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute.

Kowtakul, S. (2011). Educational psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Khlaisang, J. (2017). Systematic Production and Use of Media for Learning in the 21st Century. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kleechaya, P. (2021). Digital technology utilization of elderly and framework for promoting Thai active and productive aging. Journal of Communication Arts, 39(2), 56 - 77.

Moret-Tatay, C., & Murphy, M. (2019). Aging in the digital era. Front. Frontiers in Psychology Science, 10, 1815. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2019.01815

Rodkhem, R., & Chaiprasit, S. (2019). Ageing society: Technology and the elderly. EAU Heritage. Journal Science and Technology, 13(2), 36 - 45.

Ratanaubon, A. (2016). Learning of adults and elderly in Thai society. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Robin, N. (2022). Lifelong learning - upskill with SITizens learning credits. Retrieved May 24, 2022, from https://www.singaporetech.edu.sg/

Ribble, M. (2017). Digital citizenship: Using technology appropriately. Retrieved June 24, 2022, from http://www.digitalcitizenship.net/

Samithkai, C. (2021). Social psychology (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sap-in, R., & Khaoroptham, Y. (2017). The elderly and media in Thailand. Journal of Communication Art Dhurakij Pundit, 11(2), 367 - 387.

Siemens, G. (2004). Connectivism: A learning theory for the digital age. Retrieved August 17, 2023, from http://www.elearnspace.org/Aricles/Connectivism.htm

Wongwanich, S. (2019). Needs Assessment (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Yap, Y.Y., Tan, S.H., & Choon, S.W. (2022). Elderly’s intention to use technologies: A systematic literature review. Heliyon. 8. e08765. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e08765

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21