รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน

ผู้แต่ง

  • นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, โลกป่วน, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์โลกผันผวนที่มีต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในปัจจุบันและอนาคต วิเคราะห์ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในปัจจุบันและในยุคโลกป่วน และเสนอแนะรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน โดยเป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของสถานการณ์โลกผันผวนต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้แก่  ด้านโครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อจำนวนผู้เรียนลดลง วิถีการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้นจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง ร่วมกับการปรับตัวของนโยบายรัฐให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์การที่ปรับตัวไม่ทัน ในขณะที่ การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยไม่กระจายอำนาจเท่าที่ควร เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารได้ช้า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังปรับตัวช้า และขาดแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังพบปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอน  ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ควรปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานสู่การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงและเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ด้วยการกระจายอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น และกำหนดโครงสร้างหน่วยงานที่มีความเชื่อมโยงภารกิจที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันและเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์การ

Author Biography

นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

งานวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์โลกผันผวนที่มีต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ในปัจจุบันและอนาคต 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อเสนอแนะรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบของ สถานการณ์โลกผันผวนต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้แก่ ด้านโครงสร้างประชากร โลกเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อจำนวนผู้เรียนลดลง 2) วิถีการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว 3) ความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้นจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และ 4) การปรับตัวของนโยบายรัฐให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลอการบริหารงานขององค์การที่ปรับตัวไม่ทัน ในขณะที่การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยไม่กระจายอำนาจเท่ที่ควร เปลี่ยนแปลงวิธี การบริหารได้ช้า ระบบเทคนโลยีสารสนเทศยังปรับตัวช้า และขาดแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังพบปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนไม่ทันสมัย ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหามกูฎราชวิทยาลัยควรปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานสู่การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ด้วยการกระจายอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น และกำหนด โครงสร้างหน่วยงานที่มีความเชื้อมโยงภารกิจที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันและเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากร ภายในองค์การ 

References

Aramyok, T. (2021). Model of organization management to excellence for affiliated petrochemical industry, ptt public company limited. Journal of Innovation and Management Suan Sunandha Rajabhat University. 6(1), 86-99.

Decharin, P. (2020). 9 principles for new organization. Retrieved March 3, 2022, from https://www.bangkokbiznews.com/columnist/126928

Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (2021). Learn - Unlearn - Relearn survive strategy in disruptive world. Retrieved May 3, 2022, from https://www2.si.mahidol.ac.th /km/tag/learn-unlearnrelearn/

Khemklad, C. (2020). Technology disruption and sustainable development: Everybody has to be alert. Retrieved March 5, 2022, from https://www.rightlive lihoods.org/scoop/technology-disruption

Lao, S. (2018). Crisis of higher education. Retrieved September 29, 2022, from workpointtoday.com/วิิกฤติิอุุดมศึึกษา-มหาวิิท/

Longtunman. (2019). Crisis of Thai University. Retrieved March 1, 2022, from https://www.longtunman.com/12469

Maesincee, S. (2020). The Changing world and Changing people: Avoid from the traps to sustainable. Retrieved September 29, 022, from https://waa.inter.nstda. or.th/stks/pub/2020/20200525-The-World-Changes-People-v1/index.html

Mahamakut Buddhist University. (2020). Structure of Mahamakut Wittayalai University. Retrieved March 1, 2022, from https://www.mbu.ac.th/about/post-419/

Maxwell, C.J. (2021). Leader shift. (S. Manawongcharoen, Trans.). Bangkok: Nation Books. Ministerial Regulation for Grouping the Higher Education Institution, B.E. 2564. (2021, 25 March). Government Gazette. 138(21ก). 1-11.

Nantapanich, J. (2018). Adjustment in disruptive world. Retrieved November 2, 2020, from https://www.thebangkokinsight.com/44196/

Pholphirul, P. (2019). The disconnected problem of Thai university. Retrieved May 2, 202, from https://www.posttoday.com/finance/money/590342

Phramaha Medhidhammacarya. (2021, February 26). How Sangha University will adjust in the current situation. Matichon Online. Retrieved November 10, 2023, from https://www.matichon.co.th/education/news_2598396

Phrarajvoramunee (P.A. Payutto). (1986). The Education of Sangha: Problems waiting for a Solution. Retrieved November 3, 2022, from https://www.watnyanaves. net/th/book_detail/38

Phramedhavinaiyaros (Suthep Buddhachanya). (2018). Administration strategies in Buddhist University for ASEAN community (Doctor of Education Management). Dhurakij Pundit University - Nonthaburi. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Phramedhavinaiyaros.pdf

Pountawan. (2018). Why does the Buddhism to be the foundation subject for every students in America and Europe?. Retrieved March 17, 2023, from https://www.winnews.tv/news/14784

Puttaruksapitak, J. (2021). Re-imagine leadership development for disruuptive world. Saeng Isan Academic Journal, 18(1), 22-33.

Sanamthong, E., Na-Nan, K., Meksuwan, W., Chantawong, C., Wongsuwan, N., & Sukmanee, P. (2019). Organization development: The strength of business competition. MUT Journal of Business Administration, 16(2), 1-18.

Santiprabhob, V. (2020). How does university manage the disruption. Retrieved Aprill 12, 2023, from https://thaipublica.org/2020/ 11/veerathai-49/

Somdet PhraBuddhaghosacariya (P.A. Payutto). (1970). Buddhism and the Past Education. Retrieved January 2, 2022, from https://www.payutto.net/

Tachasanskul, K. (2019). VUCA World: Disruptive world...new normal in present age. Export-Import Bank of Thailand. Retrieved August 27, 2023, from https://kmc.exim.go.th/detail/20190927190855/20200115125851

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22