การบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ศาสตร์พระราชา, สุขภาวะผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะของผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก และศึกษาแนวทางการบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียน ผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 300 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานและ กลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอ ายุต้นแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาวะของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.65) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขภาวะด้านจิตใจ = 4.07, S.D. = 0.67) 2) แนวทางการบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า การนำกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร โดยนำแนวคิดศาสตร์ พระราชา "เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา" เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการพัฒนา 2 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาวะและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย และเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมหรือนวัตกรรมที่นำ มาใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
References
Adams, T., Bezner, J., & Steinhardt, M. (1997). The conceptualization and measurement of perceived wellness: Integrating balance across and within dimensions. American Journal of Health Promotion, 11(3), 208-218.
Bunpadung, S. (2011). The development of the quality of life of the local elderly by using the school as a base according to the principles of sufficiency economy (Phase 1) (Research report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.
Chaiyasaeng, U., Chaiyasaeng, N., & Marano, L. (2020). Study of mental health and perspectives on living a life that promotes the mental health of the elderly in the Elderly Quality of Life Development Center Yala Municipality, Yala Province. Journal of the Southern Nursing and Public Health College Network, 7(1), 317-329.
Dhonburi Rajabhat University. (2021). Teaching materials royal science and the development of quality of life. Bangkok: Dhonburi Rajabhat University.
Hutchison, T., Morrison, P., & Mikhailovich, K. (2006). A review of the literature on active ageing. University of Canberra.
Informant 02 (pseudonym). (2022, 15 December). Elderly school counsellors. Interview.
Informant 25 (pseudonym). (2023, 11 January). Elderly school counsellors. Interview.
Khotchantuek, K., Panyawuttho, S., & Theepadhammo, S.B. (2020). ASEAN Political Economy: Relationships between the ASEAN community. According to the principles of dependency economics. MCU Journal of Social Science Review. 9(2), 288-303.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Nammuang, C. (2017). School for the elderly: A model for managing the health and welfare of the elderly. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phayao Campus Phayao: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Office of the Eastern Special Development Zone Policy Committee (EECO). (2020). The Eastern Special Development Zone (EEC) project is a strategic plan under Thailand 4.0. Retrieved January 2, 2022, from https://www.eeco.or.th
Order of the Head of the National Council for Peace and Order No. 2/2017 regarding the development of the eastern economic corridor. (2020, 4 May). Royal Gazette. 134, (special section 19 D.), 30.
Promchaluay, J. (2021). Study of the health of the elderly in Phraeksa Mai Municipality. Samut Prakan Province. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi Rajabhat University, 4(1), 69-84.
Registration Management Office Department of Provincial Administration. (2022). Data on the population of the elderly in Chonburi-Rayong Province and Chachoengsao, March 2022. Retrieved January 2, 2022, from https://stat.bora.dopa.go.Th/StatMIS/#/ReportStat/3
Ryff, C.D. (2014). Psychological well-being revisited: Advances in the science and practice of eudaimonia. Psychther Psychosom, 83(1), 10-28.
Wagnild, G., & Young, H.M. (1990). Resilience among older women. IMAGE: Journal of Nursing Scholarship, 22(4), 252–255.
World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. Geneva: World.