แนวทางการจัดการปัญหาอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย
  • ธณัฐฎา รัตไตรทอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิรอฮานา สาและ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การจัดการอุทกภัย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นวิกฤตที่มนุษย์หลีกเลี่ยงได้ยาก การลดความสูญเสียจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องอาศัยการสร้างกระบวนการในการจัดการอย่างเป็นระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่เทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่คัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย บุคลากรของเทศบาล 3 คน เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี 1 คน และประชาชน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ  ผลการวิจัยพบ 7 แนวทางสำคัญ ครอบคลุม 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัย 4 แนวทาง ได้แก่ การร่วมติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา การจัดการขยะภายในชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนและอาสาสมัครป้องกันภัยพิบัติพลเรือน การร่วมทำความสะอาดท่อระบายน้ำในพื้นที่และช่วยซ่อมแซมส่วนที่ได้รับความเสียหายหลังเกิดอุทกภัย 2) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและประชาชน 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยแก่ประชาชน และการพัฒนาพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ 3) การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 แนวทาง ได้แก่ การปฏิบัติงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้เสนอแนะให้เทศบาลเปิดโอกาสในการรับฟังประเด็นปัญหาจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุทกภัยให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และพิจารณาความซับซ้อนระหว่างการทำงานที่มีโอกาสเกิดขึ้น

References

husri, P. (2017). Guidelines for flood disaster management based on the multilateral participation, Journal of Social Work, 25(2), 69-93. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/170084/122285

Boonreang, E., & Harasarn, A. (2018). Strategy in Thailand’s natural disaster management, Journal of Politics and Governance, 8(2), 100-115. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/147163/108420

Fajar, F.J., Fatmawati, Amaliyah, R., Setiawan, A.R., Majmud, M.R. (2022). Towards better flood disaster governance by applying local government and private sector partnership concept: A case study of Luwu Utara, Indonesia, Asian Political Science Review, 6(1), 36-47. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/APSR/article/view/249254/171321

Khaenamkhaew, D., Onjan, P., Damrongwattana, J., & Patoom, B. (2021). Guidelines for the Development of Leaders to Fix the Problem of the Storm And Flood in Phipun District, Nakhon Si Thammarat Province, Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(3), 30-41. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/247225/167688

Laohawichean, U., & Sangmahachai, S. (2017). Flood prevention and mitigation management in Bangkok Metropolis, Kasem Bundit Journal, 18(2), 111-127. file:///C:/Users/LEGION/Downloads/tchareerak2,+Journal+editor,+09.pdf

Liengjindathaworn, O., Vadhnapijyakul, A., Namkhot, K., & Yuanyao, R. (2019). Enhancing the

effectiveness of participatory management approach for local communities in the repeatedly flooded areas in the District of Warinchamrab, Ubon Ratchathani Province, Local Administration Journal, 12(1), 88-110. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/

colakkujournals/article/view/180438/128072

Marut (pseudonym). (2023, 20 January). Disaster prevention and relief officers are active. Interview.

Meesiripan, S., & Wongwatthanaphong, K. (2022). Public participation in coping with floods in Pak Khware subdistrict, Mueang Sukhothai district, Sukhothai province, Journal of Modern Learning Development, 7(5), 216-228. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/ view/255010/173240

Nuphet, K., & Plodpai, P. (2021). Flood risk area determination for disaster prevention: A case study of Pattani River Basin, The Journal of Spatial Innovation Development, 2(2), 65-79. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jsid/article/view/245241/167891

Nooprakob, P. (2022). Empowering participation approach in the management of flood disastersin Phunphin District, Surat Thani Province, Journal of Local Governance and Innovation, 6(3), 33-46. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/263459/175523

Podhisita, C. (2011). The Science and Art of Qualitative Research (5th ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Prathiab-in, R. (2021). Flood disaster management of Ban Klang Subdistrict Municipality, Mueang Pathum Thani District, Pathum Thani Province (Master of Public Administration). Ramkhamhaeng University. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1614230998_6214830047.pdf

Rajbhandharak, S. (2018). Comprehensive collaborations framework for public, private and Non-government sectors during large scale flood disaster, Journal of Public and Private Management, 27(2), 101-116. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ppmjournal/article/view/110858/167990

Ordinance of the Ministry of finance on the provision of government funds for emergency disaster relief, B.E. 2562 (2019, 13 May). Government Gazette, 136(120), 36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26