<b>ความต้องการสารสนเทศ และบริการสารสนเทศการเกษตรในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา</b><br> Agricultural Information Need and Service in Phra Nakhon Si Ayutthaya
คำสำคัญ:
agricultural extension, agricultural information, information needบทคัดย่อ
Abstract
The purposes of this study were 1) to investigate the agriculturalists’ needs of agricultural information and 2) to study the favorable forms and channels of agricultural information services in Phra Nakhon Si Ayuttaya Province. The samples of the research were 384 agriculturalists doing plantation, raising animals and farming aquatic animals in PhraNakhon Si Ayuttaya. They were randomized by using the stratified random sampling according to their fields of work. The structured interview were used to collect data. The statistics employed for analyzing the data were percentage and mean. It was found that: 1) the top three of agricultural information required most by the agriculturalists doing plantation were disease and pest controls 213 persons (75.53%), compost 193 persons (68.44%) and plant breeding183 persons (64.89%); 2) the top three of agricultural information needed most by the agriculturalists raising animals were information of animal drugs 21 persons (92.86%), animal housing 23 persons (82.14%), animal feed and feeding 22 persons (78.57%); 3) the top three of agricultural information needed most by the agriculturalists farming aquatic animals were aquatic animal feed and feeding 69 persons (93.24%), larval rearing and raising 61 persons (82.43%), and plankton 59 persons (79.73%); 4) in general, the agriculturalists found 1-3-year agricultural information was the most useful 243 persons (63.28%), not-longer-than-4-6- year and not-longer-than-7-10-year agricultural information were acceptable useful 74 persons (19.27%) and 67 persons (17.45%) 5) the top three most wanted forms of agricultural information services were television broadcasting ( X = 4.28, S.D. = 1.07), summaries of agricultural researches ( X = 4.21, S.D. = 0.91) summaries of agricultural articles written with simple words presented as a pamphlet ( X = 4.18, S.D. = 0.96); 6) the top three favorable channels for agricultural information services were via local agricultural extension officers, livestock officers, fishery officers, through village news announcement centers 221 persons (57.55%), via the village headmen 217 persons (56.51%) and agricultural technology transfer center 211 persons (54.95%).
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจความ ต้องการสารสนเทศการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษารูปแบบและช่องทาง การบริการสารสนเทศการเกษตร ที่เกษตรกรใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้องการ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรในเขตจังหวัด พระนครศรีอยุธยาที่ประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมง จำนวน 384 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ แบ่งชั้น(Stratified random sampling) ตามอาชีพของ เกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรที่เพาะปลูก ต้องการสารสนเทศ 3 อันดับแรกคือ เรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลง 213 คน (ร้อยละ 75.53) ปุ๋ยหมัก 193 คน (ร้อยละ 68.44) และการปรับปรุงพันธุ์ 183 คน (ร้อยละ 64.89) 2) เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ต้องการสารสนเทศ 3 อันดับ แรกคือ ยาสัตว์ 21 คน (ร้อยละ 91.30 โรงเรือน 23 คน (ร้อยละ 82.14) อาหารและการให้อาหาร 22 คน (ร้อยละ 78.57) 3) เกษตรกรที่ทำประมงต้องการสารสนเทศ 3 อันดับแรกคือ เรื่องอาหารและการให้อาหาร 69 คน (ร้อยละ 93.24) การอนุบาล และการเลี้ยง 61 คน (ร้อยละ 82.43) แพลงก์ตอน 59 คน (ร้อยละ 79.73) 4) เกษตรกรโดยรวม คิดว่าสารสนเทศการเกษตรที่เป็น ปัจจุบันควรเป็นสารสนเทศที่ย้อนหลังไม่เกิน 1-3 ปี 243 คน (ร้อยละ 63.28) ไม่เกิน 4-6 ปี 74 คน (ร้อยละ 19.27) ไม่เกิน 7-10 ปี 67 คน (ร้อยละ 17.45) 5) เกษตรกรโดยรวมต้องการการบริการสารสนเทศ ระดับมาก 3 รูปแบบแรกคือ บันทึกรายการด้าน การเกษตรทางโทรทัศน์ ( X = 4.28, S.D. = 1.07) สรุปงานวิจัยการเกษตรโดยใช้ภาษาง่ายๆ เป็นจุลสาร ( X = 4.21, S.D. = 0.91) สรุปบทความวารสารด้าน การเกษตรโดยใช้ภาษาง่าย ๆ เป็นจุลสาร ( X = 4.18, S.D. = 0.96) 6) ช่องทางการบริการสารสนเทศ ที่เกษตรกรโดยรวม ต้องการ 3 อันดับแรกคือ ให้ส่ง สารสนเทศผ่านเกษตรตำบล / ปศุสัตว์อำเภอ / ประมง อำเภอ และหอกระจายข่าว 221 คน (ร้อยละ57.55) ผ่านผู้ใหญ่บ้าน 217 คน (ร้อยละ56.51) และ ผ่านศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 211 คน (ร้อยละ 54.95)