<b>มุมมองของผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดพหุวัฒนธรรมนิยมและพหุวัฒนธรรมศึกษา</b><br Perspectives of Public School Administrators in the Three Southern Border Provinces on Multiculturalism and Multicultural Education

ผู้แต่ง

  • เอกรินทร สังขทอง ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

คำสำคัญ:

high school, multiculturalism, multicultural education, Southern Border Provinces

บทคัดย่อ

Abstract

This qualitative case study aimed to examine perspectives of public school principals in the three Southern border provinces of Thailand towards multiculturalism and multicultural education. The study also aims to analyze principals’ perspectives with theoretical lens of multicultural education. Key informants were 30 public school principals (15 from primary schools and 15 from secondary schools) in Southern border provinces; Pattani, Yala, and Narathiwat. A purposive selection was employed to select sites and participants for the study. Research instruments were a semi-interview protocol, related documents and the researcher as a key instrument. Data were analyzed by using grounded theory techniques as well as constant comparative technique. The findings revealed that perspectives of public school principals significantly varied based on perceptions and backgrounds. They were classified into three main perspectives (narrow, broad, and unsure) on multiculturalism. Those who had narrow perspectives reflected that multiculturalism was mainly about cultural and religious issues and those who had broad perspectives thought that multiculturalism were not only cultural and religious issues but also other different social dimensions. The unsure principals reflected that they were not sure what multiculturalism was. Principals described multicultural education as educational management processes in accordance with people’s needs, ways of life, goals, opportunities and contexts of the region. Looking through the lens of multicultural education developed by Banks (1997), this study showed theoretical fit and unfit with principals’ perspectives in some dimensions. 

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้อำนวยการ โรงเรียนของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่มีต่อพหุวัฒนธรรมนิยมและพหุวัฒนธรรมศึกษาและ เพื่อวิเคราะห์มุมมองผู้อำนวยการของรัฐในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้กับแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้าน พหุวัฒนธรรมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้อำนวยการ โรงเรียนประถมศึกษา (15 คน) และมัธยมศึกษา (15 คน) ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม จำนวน 30 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง เอกสารที่เกี่ยวข้องและตัวผู้วิจัยของ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสร้างทฤษฎีจาก ข้อมูล และใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า มุมมองของผู้อำนวยการโรงเรียนของรัฐเกี่ยวกับ พหุวัฒนธรรมนิยมมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับการ รับรู้และพื้นฐานต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสาม มุมมองหลักๆ คือ แบบแคบ แบบกว้าง และแบบไม่แน่ใจ แบบแคบซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่มองว่าพหุวัฒนธรรม นิยมเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศาสนา แบบกว้าง ซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อยมองว่าพหุวัฒนธรรมนิยมไม่ได้ จำกัดแค่เรื่องศาสนาและวัฒนธรรม แต่ยังรวมถึงมิติ ต่างๆ ทางสังคมที่แตกต่างกัน แบบไม่แน่ใจซึ่งเป็น ส่วนน้อยมองว่าตนเองไม่มีความแน่ใจและไม่มั่นใจว่า พหุวัฒนธรรมนิยมคืออะไร พหุวัฒนธรรมศึกษาใน มุมมองของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้นั้นคือ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความ ต้องการของบุคคลในชุมชน วิถีชีวิต โอกาส เป้าหมาย กระบวนการ และบริบทของพื้นที่ เมื่อทำการวิเคราะห์ มุมมองของผู้ริหารกับทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษาตาม แนวคิดของ Banks (1997) พบว่ามุมมองของผู้บริหาร สถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความ สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับทฤษฎีในบางมิติ 

Author Biography

เอกรินทร สังขทอง, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Ph.D. (Educational Administration), ผูชวยศาสตราจารย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-07-01