<b>สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ </b><br>States, Problems, and the Development Guidelines for Mosque-based Islamic Educational Centres (TADIKA) in Three Southern Border Provinces

ผู้แต่ง

  • นิเลาะ แวอุเซ็ง อิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผ่องศรี วาณิชศุภวงค์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นูรุดีน สารีมิง ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มูหามัดรูยานี บากา สํานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 12

คำสำคัญ:

educational management, Mosque-based Islamic Educational Centres (TADIKA), southern border provinces, system theory

บทคัดย่อ

Abstract

This study aimed to examine states, problems, and the developmental guidelines for educational provision of Mosque-based Islamic Educational Centres (TADIKA) in three southern border provinces based on system theory framework. Data was collected through questionnaires, individual and group interview and connoisseurship meeting to reach at agreed-upon guidelines for TADIKA. The results indicate most of TADIKAs are located in the country area. Poverty and growing unrest affect TADIKA’s educational provision. TADIKA receives budget from the government and uses Mosque Based Fardhu‘in Islamic Studies Curriculum 2005. Female teachers and learners are greater in proportion than male teachers and learners. TADIKA has inclusive educational goals encompassing knowledge, faith, practice, and social aspect. TADIKA conforms to conservatism. Teaching methods relies on lecturing, memorizing, and real practicing. Various instructional media are employed. TADIKA is presumed as the place where peace is promoted and community identity is preserved. The top-down administrative structure is obviously discernible. In TADIKA there are aim setting, planning, budgeting, organizing, implementing, and evaluating. The generally encountered problems are lack of clarity in work process and insufficient buildings and budgets. Most of those graduating from TADIKA further their studies at Islamic private schools. TADIKA’s personnel are fairly satisfied with the learners’ achievement, their social status, educational provision, and infrastructure and less satisfied with remuneration. The development has been proposed as guidelines on which measures and conditions are set up. 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา ของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้กรอบแนวคิด เชิงทฤษฎีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์กลุ่มและรายบุคคล และการประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาข้อเสนอแนวทางการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า ตาดีกาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่เป็นชนบท ปัจจัยความยากจนและ ความไม่สงบมีผลต่อการจัดการศึกษา ตาดีกาได้รับ งบประมาณจากรัฐเป็นหลัก ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.2548 เป็นหลัก อัตราส่วน ผู้สอนและผู้เรียนหญิงมากกว่าผู้สอนและผู้เรียนชาย มีเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งด้าน ความรู้ การศรัทธา การปฏิบัติ และสังคม เน้นการ จัดการศึกษาตามแนวปรัชญาอนุรักษ์นิยม ใช้วิธีสอน แบบบรรยาย ท่องจำ และปฏิบัติจริงเป็นหลัก มีการใช้ สื่อการสอนที่หลากหลาย เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริม ให้สังคมสงบสุข และรักษาอัตลักษณ์ของชุมชน มีโครงสร้างการบริหารแบบการสั่งการจากบนลงล่าง การจัดการนั้น ได้มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย มีการ วางแผนการดำเนินงาน มีการบริหารงบประมาณ มีการ จัดโครงสร้างองค์การ มีการดำเนินการตามแผนงาน และมีการประเมินผลการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ประสบส่วนใหญ่ คือความไม่ชัดเจนใน กระบวนการทำงาน และความไม่เพียงพอด้านอาคาร และงบประมาณ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากตาดีกา จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เป็นหลัก บุคลากรของศูนย์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สถานภาพทางสังคม กระบวนการจัดการศึกษา และระบบสาธารณูปโภคอยู่ ในระดับปานกลาง มีเพียงความพึงพอใจต่ออัตราค่า ตอบแทนที่ได้รับอยู่ในระดับที่น้อย การพัฒนาได้ กำหนดในรูปของแนวทางและมาตรการที่สามารถ นำไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไข แห่งความสำเร็จ

Author Biographies

นิเลาะ แวอุเซ็ง, อิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Ph.D. (Education : Educational Administration),  ผุ้ช่วยศาสตราจารย์

ผ่องศรี วาณิชศุภวงค์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

(Educational Administration), รองศาสตราจารย์

นูรุดีน สารีมิง, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

M.A. (Islamic Studies), อาจารย์

มูหามัดรูยานี บากา, สํานักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 12

ศศ.ม. (ปรัชญา) ผู้เชี่ยวชาญอิสลามศึกษา,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-10-01