<b>อ่านทุติยะวิเศษในปี 2557</b><br>
บทคัดย่อ
ทุติยะวิเศษ1 เป็นวรรณกรรมที่อ่านแล้วเหนื่อยใจ เราคงจะไม่เอาหนังสือประเภทนี้ติดตัวไป “อ่านเล่น” ที่ชายหาดหัวหิน ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่า
อ่านแล้วไม่เกิดความหฤหรรษ์ แต่มันก็เป็นความหฤหรรษ์ประเภทที่เป็นอาหาร
ทางปัญญา ทางปรัชญา และทางจิตวิทยา “บุญเหลือ” ชวนให้ผู้อ่านคิดตาม
ท่าน คิดให้ไกลกว่าท่าน และในบางครั้งคิดแย้งท่าน ทุติยะวิเศษ เป็นนวนิยาย
ประวัติศาสตร์และนวนิยายการเมืองที่ต่างไปจากนวนิยายไทยส่วนใหญ่
วรรณกรรมเรื่องนี้ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เหตุการณ์
เหล่านี้ดูจะแฝงตัวอยู่เบื้องหลัง ซึ่งอาจจะชวนให้เราเกิดความกระหายที่จะได้
รู้ว่ามันเลวร้ายเพียงไหน แต่อันที่จริงมนุษย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางแห่งความ
สนใจของผู้แต่ง ถ้าประวัติศาสตร์เป็นฝีมือมนุษย์ ไม่ช้าไม่นานประวัติศาสตร์
ก็หลุดลอยไปจากการควบคุมของมนุษย์ ถ้าจะเทียบ ทุติยะวิเศษ กับ
วรรณกรรมเอกของตะวันตก เราก็คงจะต้องคิดถึงบทละครเรื่อง ความตายของ
ดองตอง (Dontons Tod, 1835) ของนักประพันธ์เยอรมัน เก-ออร์ก บืชเนอร์
(Georg Bücher) ... (อ่านต่อในฉบับ)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
2016-01-01
How to Cite
ฉบับ
บท
บทความพิเศษ