ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทศพร ทานะมัย นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศรากุล สุโคตรพรหมมี อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เพื่อชี้วัดความสัมพันธ์ของระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานต่อระดับ ความผูกพันต่อองค์กรโดยผ่านการวิเคราะห์หลัก ๆ คือ ชี้วัดระดับคุณภาพชีวิตในการท างานและระดับความผูกพันต่อองค์กร ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการ ทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู โรงเรียนรัฐบาล 7 โรงเรียนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบสุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Samples t-test, One-way ANOVA, LSD และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ครูโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดชลบุรี 7 โรงเรียน พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 20-29 ปี อายุงานอยู่ช่วง 1-5 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวม ทั้งหมดจัดอยู่ในระดับสูงโดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.71 ส่วนระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมทั้งหมดจัดอยู่ในระดับสูง โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.95 เพศและระดับการศึกษาของครูที่แตกต่างกันส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าอายุ และอายุงานของครูมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าช่วงอายุและอายุงานที่มากขึ้นนั้นทำให้ค่าเฉลี่ย ของระดับคุณภาพชีวิตและความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อความผูกพันกับองค์กรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แค่สองปัจจัย คือ อายุและอายุงาน ส่วนคุณภาพชีวิตในการทำงานทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กับความผูกพันต่อองค์กร โดยด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านลักษณะงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ .567

References

1. กาญจนา บุญเพลิง. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเทศบาลจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
2. จันทนา เสียงเจริญ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ ากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
3. ฐิปริติยาธร พรหมธนะนนท์. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าธนาคารพาณิชย์เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรญิญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
4. ดนุวัศ บุญเดช. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)‬ ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
5. นิรมล กุลพญา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ในธุรกิจน้ำอัดลม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
6. บุษยาณี จันทร์เจริญสุข. (2548). การรับรู้คุณภาพชีวิตกับความผูกพันองค์การ : ศึกษากรณีข้าราชการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
7. ประภาพรรณ พิยะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.
8. ปวีณา กรุงพลี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักษาปณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
9. พิชญ์สนิี ผลผิล. (2545). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีบริษัท ไทย แอร์ พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด. วิทยานพินธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
10. พิชิต เทพวรรณ์ (2555). เครื่องมือการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
11. ภัทรา แสงอรุณ. (2543). การรับรู้คุณภาพชีวิตงานที่ส่งผลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์การของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ: กรณีศึกษาฐานทัพเรือพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์.
12. มนสิชา อนุกูล. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
13. รุจี อุศศิลป์ศักดิ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความยึดมั่น ผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคาร กรุงเทพ จ ากัด (มหาชน) ในอำเภอเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
14. วิทยา อินทร์สอน และ สุรพงศ์ บางพาน. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2 .php?id =773 &section =30&issues =74
15. วรรณี รัตนพันธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
16. ศุภชัย รุ่งเจริญสุขศรี. (2558). ความผูกพันในองค์กรการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ และความพึงพอใจในสวัสดิการพนักงานส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
17. อัญชนา ค าสอด. (2559). ความผูกพันของครูต่อโรงเรียนในกลุ่มศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
18. Fukami, C. V. and Larson, E. W. (1984). “Commitment to Company and Union.” Journal of Applied Phycology. 60, 367-371.
19. Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
20. Huselid, M. and Day, N. (1991). “Organizations Commitment, Job Involvement and Turnover: A Substantive and Methodological Analysis.” Journal of Applied Psychology. 73(1991), 380391.
21. Mathieu, J. E., & Zajac, D. M. (1990). “A Review and Meta-Analysis of the Antecedents, Correlates, and Consequences of Organizational Commitment.” Psychological Bulletin. 108(2), 171194.
22. Richard, M. Steers & Lyman, W., Porter. (1991). Motivation and work behavior. 5th ed. New York: McGraw-hill.
23. Bruce and Blackburn. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. NewYork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-30

How to Cite

ทานะมัย ท., & สุโคตรพรหมมี ศ. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ของครูโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 152–161. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/177546