การศึกษาการสร้างโจทย์ปัญหาเพื่อเสริมกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สกุลนุช คำยัง นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ดร.นวพล นนทภา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ดร.รามนรี นนทภา อาจารย์ที่ปรึกษษวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การสร้างโจทย์ปัญหา, การแก้โจทย์ปัญหา, การสอนคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างโจทย์ปัญหาเพื่อเสริมกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้การสร้างโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน ธวัชบุรีวิทยาคม อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผู้วิจัย จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 7 แผนในการศึกษาการสร้างโจทย์ปัญหา ของนักเรียนและใช้แบบทดสอบการแก้โจทย์ปัญหา เพื่อศึกษาการแก้โจทย์ปัญหา เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส จำนวน 7 แผน และ แบบทดสอบการแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน แล้วนำเสนอโดยวิธี พรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า การสร้างโจทย์ปัญหาเพื่อเสริมกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส นักเรียนมีความสามารถในการสร้างโจทย์ปัญหาจากแผนการจัดการ เรียนรู้ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความสัมพันธ์รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก gif.latex?\bar{x}= 3.43 S.D. = 0.68 มากที่สุด รองลงมา บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส gif.latex?\bar{x}= 3.16 S.D. = 0.66 การน าทฤษฎีบทพีทาโกรัสไปใช้ gif.latex?\bar{x}= 3.01 S.D. = 0.77 บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส gif.latex?\bar{x}= 2.73 S.D. = 0.82 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส gif.latex?\bar{x}= 2.87 S.D. = 0.75 โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับบทกลับทฤษฎีบทพีทาโกรัส gif.latex?\bar{x}= 2.69 S.D. 0.99 และการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีบท พีทาโกรัส gif.latex?\bar{x}= 2.61 S.D. = 0.89 โดยภาพรวมแล้ว มี gif.latex?\bar{x}= 2.93 และ S.D. = 0.78 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.93 จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ในการศึกษาครั้งนี้จากการทำแบบทดสอบการแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนได้คะแนน เฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์สูงขึ้นในทุกขั้นตอน โดยในขั้นดำเนินการ ตามแผน ได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.95 อยู่ในระดับดี ขั้นตรวจสอบผล ได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.94 อยู่ในระดับดี ขั้นทำความเข้าใจโจทย์ ได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.99 อยู่ในระดับดี ขั้นวางแผนแก้ปัญหา ได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.01 อยู่ใน ระดับดี

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
2. ปาริชาต เที่ยงทุกข์. (2554). การใช้การตั้งปัญหาเพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
4. สุริเยส สุขแสวง. (2548). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การตั้งปัญหา เสริมกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิด สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. Bitter, C.G. (1990). Mathematics Method for the Elementary and Middle School A Comprehensive Approach.
6. Borton: Allyn and Bacon. Branca, Nicolas A. (1980). “Problem Posing as a Goal, Process and Basic Skill,” In Problem Solving in school Mathematics. Stephen Krulik and Robert E.
7. National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Professional standards for teaching mathematics. Reston, Va: Author.
8. Silver, Edward A. (1994). Contributions of research to practice: Applying finding, methods, and perspectives. In T.J.: New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-31

How to Cite

คำยัง ส., นนทภา ด., & นนทภา ด. (2018). การศึกษาการสร้างโจทย์ปัญหาเพื่อเสริมกระบวนการแก้ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 192–199. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/181547