รูปแบบการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
รูปแบบการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน, อุตสาหกรรมพลาสติกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1)ระดับอุปสรรคการดำเนินธุรกิจของของโรงานอุตสาหกรรมพลาสติกใน 2)ระดับความสำคัญการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติก 3)เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยสร้างศักยภาพในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก 4)ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับระดับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของของอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมพลาสติก 5) เสนอตัวรูปแบบการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย 287 ตัวอย่าง แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลด้วยค่าความครอบคลุมค่า .78 และความน่าเชื่อถือ .82 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นโดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเพียรสัน และถดถอยเชิงพหุคูณแบบ Stepwise ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยดังนี้ 1. ระดับอุปสรรคการดำเนินธุรกิจของของโรงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาพรวมเฉลี่ยและด้านอุปสรรคอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ด้านอุปสรรคคู่แข่งรายใหม่ในอุตสาหกรรม และด้านอุปสรรคคู่แข่งรายเดิมในอุตสาหกรรมมีอุปสรรคระดับมาก ส่วนด้านอุปสรรคสินค้าทดแทน และด้านอุปสรรคผู้จำหน่ายวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอยู่ที่ระดับปานกลาง 2.ระดับความสำคัญการสร้างศักยภาพการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในภาพเฉลี่ยและทุกด้านมีความสำคัญมาก ถ้าพิจารณาลำดับความสำคัญการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมจากค่าเฉลี่ยของ พบว่า ลำดับแรกได้แก่ด้านกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านศักยภาพแห่งอำนาจได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการวางแผน ด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านความสำเร็จเรียงตามลำดับ 4. ผู้บริหารที่มีจำนวนพนักงาน ลักษณะการดำเนินธุรกิจของโรงงานแตกต่างกันมีระดับระดับความสำคัญของปัจจัยสร้างศักยภาพในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารที่มีตำแหน่ง และเงินลงทุนครั้งแรก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5, ภาพรวมเฉลี่ยของการสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมด้านคู่แข่งรายใหม่ ด้านอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ด้านสินค้าทดแทน มีความสัมพันธ์ระดับสูง ส่วนกับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมด้านคู่แข่งเดิม จำหน่ายปัจจัยการผลิตมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง 6. รูปแบบการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา = 177.956 + 9.204ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม + 9.032ด้านการสร้างความแตกต่าง + 7.466 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม + 6.172ด้านกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ + 3.199ด้านการวางแผน + 3.119ด้านความสำเร็จ
References
2.ลนฤมล คงทน. (2549). การพัฒนาการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน : กรณีศึกษา : คลัสเตอร์แปรรูปข้าว จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3.เบญจพล มีเงิน. (2551). คลัสเตอร์อุตสาหกรรม : การได้มาซึ่งความได้เปรียบเชิงการแข่งขันขององค์การธุรกิจจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสิ่งทอ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว